วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

คำศัพท์คอมพิวเตอร์

API
Application Program Interface หรือ API หรือ เอพีไอ คือ วิธีการเฉพาะสำหรับการเรียกใช้ระบบปฏิบัติการหรือแอพ พลิเคชั่นอื่นๆ หรือชุดโค้ด คอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อการทำงานระหว่างแอ พพลิเคชั่นกับระบบปฏิบัติการ

การที่แอพพลิเคชั่นจะเชื่อมต่อการทำงานกับระบบปฏิบัต ิการได้นั้น จำเป็นต้องมีเอพีไอเป็นตัวเชื่อม ซึ่งหากไม่มีการเปิดเผยเอพีไอของระบบปฏิบัติการ ออกมาแล้ว เป็นไปไม่ได้เลยที่โปรแกรมเมอร์จะพัฒนาแอพพลิเคชั่นข องเขาให้ทำงานเข้ากับระบบปฏิบัติการได้เต็ม 100%

อย่างไรก็ตาม แม้เอพีไอจะเป็นอินเตอร์เฟสชนิดหนึ่ง แต่จะทำหน้าที่เชื่อมต่อการทำงานของโปรแกรม ซึ่งต่างไปจากยูสเซอร์อินเตอร์เฟส (User Interface) ทั้งแบบกราฟิก (Graphical User Interface; GUI) และแบบเดิมที่เป็นบรรทัดคำสั่ง (Command Line) ที่เป็นอินเตอร์เฟสเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์กับผู้ใช ้


Application Program
Application Program หรือ แอพพลิเคชั่นโปรแกรม หรือเรียกสั้นๆว่า Application หรือ แอพพลิเคชั่น คือ โปรแกมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำหน้าที่เฉพาะสำหรับผู้ใ ช้โดยตรง หรือจากแอพพลิเคชั่นอื่นในบางกรณี

ตัวอย่างเช่น เวิร์ดโปรเซสซิ่ง, ดาต้าเบส, เว็บเบราวเซอร์, เครื่องมือพัฒนา หรือ ดีเวลอปเมนต์ทูล (Development Tool), โปรแกรมดรอว์อิ้ง, โปรแกรมเพนต์, โปรแกรมตกแต่งภาพ (Image Editor) และโปรแกรมสื่อสาร (Communication Program) เป็นต้น

แอพพลิเคชั่นจะมีการเรียกใช้เซอร์วิสของระบบปฏิบัติก ารหรือโปรแกรมซัพพอร์ตอื่นๆในเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย โดยรูปแบบในการขอใช้หรือรีเควสต์ (Request) เซอร์วิส และวิธีการสื่อสารกับโปรแกรมอื่น ที่โปรแกรมเมอร์ใช้ในการเขียนแอพพลิเคชั่น เรียกว่า แอพพลิเคชั่นโปรแกรมอินเตอร์เฟส (Application Program Interface; API)

BIOS
BIOS หรือ ไบออส หรือ Basic Input/Output คือโปรแกรมที่ไมโครโปรเซสเซอร์ใช้เพื่อเริ่มสตาร์ทกา รทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หลังเปิดสวิตช์ ไบออสจะคอยควบคุมหรือจัดการกับกระแสข้อมูลที่วิ่งระห ว่างระบบปฏิบัติการหรือโอเอส (Operating System; OS) กับอุปกรณ์ต่างๆที่ติดตั้งอยู่ เช่น ฮาร์ดดิสก์, กราฟิกการ์ด, คีย์บอร์ด, เมาส์ หรือพรินเตอร์ เป็นต้น

ไบออสจะถูกบรรจุไว้ในชิพเอ็ปรอม (EPROM) ซึ่งถูกอินทิเกรตติดไว้กับเมนบอร์ด ไม่เหมือนกับโอเอสที่แยกติดตั้งต่างหาก ทันทีที่เปิดสวิตช์คอมพิวเตอร์ ไมโครโปรเซสเซอร์จะส่งผ่านการควบคุมไปให้กับไบออส

ไบออสจะทำการค้นหาว่า มีอุปกรณ์ใดเชื่อมต่ออยู่กับระบบและพร้อมทำงานบ้าง จากนั้นจึงโหลดโอเอสเข้าสู่หน่วยความจำหลักหรือแรมจา กฮาร์ดดิสก์

ไบออสทำให้ระบบปฏิบัติการหรือแอพพลิเคชั่นเป็นอิสระ คือไม่จำเป็นต้องรู้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวอุปกรณ์นั ้นๆ เช่น แอดเดรส เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดใดๆเกี่ยวกับอุปกรณ์ มีเพียงไบออสเท่านั้นที่ต้องถูกแก้ไขหรือปรับแต่งให้ ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งบางครั้งการแก้ไขไบออสสามารถทำได้ในระหว่างเซ็ตอ ัพระบบ

แม้ว่าในทางทฤษฎีแล้ว ไบออสจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางคอยควบคุมกระแสข้อมูลระห ว่างไมโครโปรเซสเซอร์และอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต แต่ในบางกรณี ไบออสยังสามารถนำมาใช้ควบคุมกระแสข้อมูลที่วิ่งระหว่ างอุปกรณ์ เช่น กราฟิกการ์ด กับหน่วยความจำได้อีกด้วย เพื่อการส่งผ่านข้อมูลที่รวดเร็วกว่า
Bus
"Bus" หรือ "บัส" คือเส้นทางรับ-ส่งสัญญาณ ทั้งข้อมูลและคอนโทรล ที่เชื่อมถึงอุปกรณ์ทุกๆชิ้นในเครื่องคอมพิวเตอร์หรื อเน็ตเวิร์ค เมื่อมีการส่งสัญญาณข้อมูล เฉพาะอุปกรณ์ที่ถูกแอดเดรสหรือระบุไว้เท่านั้นจึงจะร ับข้อมูลก้อนนั้นได้

ในเครื่องคอมพิวเตอร์ บัสจะหมายถึง เส้นทางข้อมูลที่เชื่อมระหว่างไมโครโปรเซสเซอร์กับอุ ปกรณ์ที่เสียบเข้ากับสล็อตต่างๆบนเมนบอร์ดของเครื่อง คอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ, ซีดีรอมไดร์ฟ, ซาวด์การ์ด และกราฟิกการ์ด เป็นต้น

Cache Memory
Cache Memory หรือ Cache หรือ หน่วยความจำแคช หรือ แคช คือหน่วยความจำแรม (RAM) ซึ่งไมโครโปรเซสเซอร์หรือโปรเซสเซอร์แกนหลัก (Core Processor) สามารถเข้าถึงได้เร็วกว่าหน่วยความจำหลัก (Main Memory) บนระบบคอมพิวเตอร์

กระบวนการประมวลผลข้อมูลของไมโครโปรเซสเซอร์นั้น ขั้นตอนแรกคือการเข้าไปค้นหาข้อมูลในแคชก่อน ซึ่งถ้าเจอข้อมูลที่ต้องการ ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปค้นหาข้อมูลในหน่วยความจำหลักที่ ใหญ่กว่าในระดับถัดออกไป อาทิ Cache L1, Cache L2, (Cache L3), Memory, Harddisk

บ่อยครั้งที่แคชจะถูกกำกับด้วยระดับความใกล้หรือความ ง่ายในการเข้าถึงโดยไมโครโปรเซสเซอร์

แคชระดับ1 (Cache L1) คือแคชที่อยู่เป็นเนื้อเดียวกันบนตัวไมโครโปรเซสเซอร ์ สามารถเข้าถึงได้เร็วและง่ายที่สุด

แคชระดับ2 (Cache L2) คือแคชที่อยู่ห่างออกมาอีกระดับหนึ่ง ก่อนนี้มักนิยมแยกมาไว้บนสแตติกแรม (SRAM) แต่ปัจจุบัน โปรเซสเซอร์เกือบทุกรุ่นจะมีแคช L2 อยู่บนตัวชิป ซึ่งทำให้แคชที่อยู่บนตัวสแตติกแรมกลายเป็นแคชระดับ 3 (Cache L3) ไปโดยปริยาย

ขณะที่หน่วยความจำหลัก (Memory) จะเป็นไดนามิกแรมหรือดีแรม (DRAM) ที่ปัจจุบันดีดีอาร์-ดีแรม (DDR-DRAM) จะเป็นแบบที่นิยมมากที่สุดและกำลังกลายเป็นมาตรฐานสำ หรับระบบคอมพิวเตอร์

สรุปว่า แคช (Cache) คือหน่วยความจำขนาดเล็กที่อยู่ใกล้กับไมโครโปรเซสเซอ ร์ (Core Processor) มากที่สุด เป็นหน่วยความจำที่ไมโครโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้ เร็วกว่าหน่วยความจำหลัก (RAM) บนระบบคอมพิวเตอร์ การเพิ่มขนาดแคชทำให้ระบบสามารถเก็บข้อมูลที่โปรเซสเ ซอร์ต้องใช้ในการประมวลผลได้มากขึ้น ทำให้ใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลน้อยลง ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบดีขึ้นด้วย

Chipset
"Chipset" หรือ "ชิพเซ็ต" คือกลุ่มไมโครชิพที่ถูกออกแบบมา เพื่อเชื่อมหรือประสานการทำงานของฟังก์ชั่นต่างๆที่เ กี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน ตัวอย่างเช่น ชิพเซ็ต Intel 430HX สำหรับโปรเซสเซอร์ตระกูลเพนเทียมของอินเทล ซึ่งเป็นชิพเซ็ตที่ใช้ระบบบัส (Bus) แบบพีซีไอ (PCI; Peripheral Component Interconnect) พร้อมหน่วยควบคุม หรือ คอนโทรลเลอร์ (Controller) เชื่อมการทำงานของอุปกรณ์ประกอบต่างๆ (Component) เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นซีพียู, แรม, ฮาร์ดไดร์ฟ, ซาวด์การ์ด, กราฟิกการ์ด, ซีดีรอม ฯลฯ เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานร่วมกันได้อย่างมีประส ิทธิภาพสูงสุด, เร็วที่สุด และมีความเสถียรมากที่สุด

Clustering ระบบ คลัสเตอร์ หรือคลัสเตอริ่ง หมายถึงการเชื่อมระบบการทำงานของเซิร์ฟเวอร์เข้าด้วย กัน เพื่อเพิ่มกำลังและความสามารถในการประมวลผล ซึ่งอาจเทียบเท่าระดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์หรือสูงกว่า ก็ได้ สำหรับการประมวลผลงานที่มีความซับซ้อน โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ ข้อดีคือประหยัดค่าใช้จ่าย คือถูกกว่าเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์จริงๆ แต่ข้อเสียคือยุ่งยาก

Computer
Computer หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำข้อมูลและคำสั่งได้ ทำให้สามารถทำงานไปได้ โดยอัตโนมัติด้วยอัตราความเร็วที่สูงมาก ใช้ประโยชน์ในการคำนวณหรือการทำงานต่าง ๆ ได้เกือบทุกชนิด มี 3 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ (Main Frame) ขนาดกลาง (Mini Computer) และขนาดเล็กที่กำลังได้รับความนิยมทั่วไปในขณะนี้ เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) หรือ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า พีซี ปัจจุบัน การใช้ระบบเครือข่ายทำให้เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์เป็ นที่ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ สื่อสารได้ นอกเหนือไปจากการใช้เพื่อการคำนวณตามวัตถุประสงค์ดั้ งเดิมของผู้ประดิษฐ์

CPU
CPU (Central Processing Unit) หรือ โปรเซสเซอร์ (Processor) คือ ส่วนหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่ควบคุมกา รทำงานของส่วนอื่นๆ โดยทั่วไปแล้ว ซีพียูจะประกอบไปด้วย หน่วยควบคุม (Control Unit), หน่วยประมวลผลคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ (Arithmetic and Logic Unit; ALU) และหน่วยความจำ ได้แก่ รีจีสเตอร์ (Register), แคช (Cache), แรม (RAM) และรอม (ROM)

หน่วยควบคุมจะอ่านคำสั่ง (Instruction) จากหน่วยความจำ และถอดรหัส (Decode) คำสั่งเหล่านั้นออกมาเป็นสัญญาณที่ใช้ควบคุมส่วนต่าง ๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายรวมถึงการส่งผ่านข้อมูลไปมาระหว่างหน่วยความ จำและหน่วยประมวลผลเอแอลยู หรือกระตุ้นการทำงานของอุปกรณ์ประกอบ (Peripheral) เพื่อนำเข้า (Input) หรือส่งออกข้อมูล (Output)

พาราเลลคอมพิวเตอร์ (Parallel Computer) จะมีซีพียูทำงานร่วมกันอยู่หลายตัว โดยจะมีการใช้งานทรัพยากรหรือรีซอร์ส (Resource) ต่างๆร่วมกันด้วย เช่น หน่วยความจำและเพอริเฟอร์รัล เป็นต้น "โปรเซสเซอร์" อาจใช้แทน "ซีพียู" ได้ แม้ว่าโดยปกติแล้วจะไม่รวมแรมและรอมเข้าเป็นส่วนหนึ่ งของโปรเซสเซอร์ก็ตาม เช่นเดียวกับไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) รุ่นใหม่ ที่แม้ว่าบางรุ่นอาจรวมแรมและรอมเข้าไว้บนแผ่นวงจรอิ เล็กทรอนิกส์ หรือไอซี (Integrated Circuit; IC) เดียวกัน

DDoS
DDoS หรือ ดีดอส หรือ Distributed Denial-of-Service หรือ ดิสทริบิวต์ออฟเซอร์วิส คือ ลักษณะหรือวิธีการหนึ่งของการโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร ์เป้าหมายหรือระบบเป้าหมายบนอินเทอร์เน็ตของแฮกเกอร์ เพื่อทำให้ระบบเป้าหมายปฏิเสธหรือหยุดการให้บริการ (Denial-of-Service)

การโจมตีจะเกิดขึ้นพร้อมๆกันและมีเป้าหมายเดียวกัน โดยเครื่องที่ตกเป็นเหยื่อทั้งหมด (เครื่องที่ติดเชื้อจากการแพร่กระจายตัวของโค้ดร้ายซ ึ่งเป็นเครื่องมือของแฮกเกอร์สำหรับการควบคุมระบบ) จะสร้างข้อมูลขยะขึ้นมา แล้วส่งไปที่ระบบเป้าหมาย

กระแสข้อมูลที่ไหลเข้ามาในปริมาณมหาศาลทำให้ระบบเป้า หมายต้องทำงานหนักขึ้นและช้าลงเรื่อยๆ เมื่อเกินกว่าระดับที่รับได้ ก็จะหยุดการทำงานลงในที่สุด อันเป็นเหตุให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้บริการระบบเป้าหมาย ได้ตามปกติ.

DDR SDRAM
DDR SDRAM หรือ Double Data Rate SDRAM หรือ ดีดีอาร์เอสดีแรม หรือ ดีดีอาร์ คือ เอสดีแรม (SDRAM) ที่ตามทฤษฎีแล้ว สามารถพัฒนาให้สามารถทำงานที่ความเร็วสูงขึ้นถึง 200MHz (เมกะเฮิร์ตซ) และมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คือ รับส่งข้อมูลได้ทั้งทั้งขาขึ้นและขาลงของสัญญาณคล็อก เทียบกับเอสดีแรมปกติที่จะรับส่งข้อมูลเฉพาะขาขึ้นขอ งสัญญาณคล็อกเพียงด้านเดียว

DRAM
Dynamic Random Access Memory หรือ DRAM หรือ ดีแรม คือ แรม (Random Access Memory; RAM) หรือ หน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและ เครื่องเวิร์คสเตชั่น (Workstation) หน่วยความจำคือเครือข่ายของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพ ิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูลในรูปของ "0" และ "1" ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ

Random Access หรือ การเข้าถึงแบบสุ่ม หมายถึง โปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงทุกๆส่วนของหน่วยความจำหรือ พื้นที่เก็บข้อมูลได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องค้นหาข้อมูลที่ต้องการเรียงตามลำดับจาก จุดเริ่มต้น

DRAM คือไดนามิก ซึ่งตรงกันข้ามกับ SRAM หรือ สแตติกแรม (Static RAM); DRAM ต้องการการรีเฟรช (Refresh) เซลเก็บข้อมูล หรือการประจุไฟ (Charge) ในทุกๆช่วงมิลลิวินาที ในขณะที่ SRAM ไม่ต้องการการรีเฟรชเซลเก็บข้อมูล เนื่องจากมันทำงานบนทฤษฎีของการเคลื่อนที่ของกระแสไฟ ฟ้าซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงใน 2 ทิศทาง ไม่เหมือนกับเซลเก็บข้อมูลซึ่งเป็นเพียงตัวเก็บประจุ ไฟฟ้าเท่านั้น โดยทั่วไป SRAM มักจะถูกใช้เป็นหน่วยความจำแคช (Cache Memory) ซึ่งโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้เร็วกว่า

DRAM จะเก็บทุกๆบิตในเซลเก็บข้อมูล ซึ่งประกอบขึ้นด้วยกลุ่มตัวเก็บประจุ (คาปาซิเตอร์; Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor) คาปาซิเตอร์จะสูญเสียประจุไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว และนั่นเป็นเห็นเหตุผลว่า ทำไม DRAM จึงต้องการการรีชาร์ต

ปัจจุบัน มีแรมมากมายหลากหลายชนิดในท้องตลาด เช่น EDO RAM, SDRAM และ DDR SDRAM เป็นต้น

DVD Audio
DVD Audio หรือ ดีวีดีออดิโอ คือฟอร์แมตมาตรฐานสำหรับข้อมูลเสียง ซึ่งมีคุณภาพสูงกว่าฟอร์แมต CD ในปัจจุบัน อาทิ ระบบ Dolby Digital AC-3 และระบบเสียงเซอร์ราวด์ บันทึกเสียงได้นานสุดถึง 2 ชั่วโมงเต็ม ทั้งยังซัพพอร์ตเทคโนโลยีป้องกันการก็อปปี้ข้อมูลหรื อขโมยข้อมูลด้วย

DVD Video
DVD Video หรือ ดีวีดีวีดีโอ คือฟอร์แมตมาตรฐานที่ใช้กันใน "ฮอลลีวูด" (Hollywood) หรือในวงการภาพยนตร์ เพื่อการบันทึกข้อมูลภาพ ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง รวมถึงข้อมูลเสียง แน่นอนว่ามีคุณภาพสูงกว่าฟอร์แมต CD และมีความจุสูงสุดประมาณ 17 กิกะไบต์

DVD+RW
DVD+RW เป็นเทคโนโลยีที่ร่วมกันพัฒนาขึ้นโดยบริษัทฮิวเลตต์แ พคการ์ด, มิตซูบิชิ, ฟิลิปส์, ริโค, โซนี่, เดลล์, คอมแพค และยามาฮา ซัพพอร์ตการ Re-Writable และสามารถใช้ได้กับทั้งเครื่องเล่น DVD และไดร์ฟ DVD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถใช้เขียนหรืออ่านแผ่น DVD-RAM ได้ แต่กับแผ่น CD-R และ CD-RW ไม่มีปัญหา เพราะเทคโนโลยีนี้มีพื้นฐานเดียวกับ CD-R และ CD-RW มีความจุ 4.7GB ต่อหน้า สามารถเขียนทับได้กว่า 1,000 ครั้ง ส่วนเวอร์ชั่นที่สามารถ Re-Writable ได้ครั้งเดียวนั้น จะเรียกว่า DVD+R

DVD-R
DVD-R หรือ ดีวีดี-อาร์ เป็นมาตรฐานดีวีดีซึ่งคิดค้นและพัฒนาขึ้นโดยบริษัทไพ โอเนียร์ (Pioneer) มีความจุ 4.7GB (กิกะไบต์) ต่อหน้า คุณสมบัติจะคล้ายกับ DVD-ROM คือใช้เขียนได้ครั้งเดียว แรกเริ่มเดิมทีตั้งใจจะพัฒนาขึ้นมาสำหรับผู้ใช้ระดับ โปรเฟสชั่นแนลเท่านั้นภายใต้มาตรฐาน DVD-R (A) แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเวอร์ชั่นสำหรับผู้ใช้ทั่วไ ปออกมาร่วมทำตลาดด้วยภายใต้มาตรฐาน DVD-R (G) ข้อแตกต่างระหว่าง 2 เวอร์ชั่นก็คือ เวอร์ชั่น A จะซัพพอร์ตการทำมาสเตอริ่งและมีเทคโนโลยีป้องการก็อป ปี้ข้อมูล ขณะที่เวอร์ชั่น G ไม่มี คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งของ DVD-R ก็คือ สามารถเล่นได้กับทั้งเครื่องเล่น DVD ทั่วไปและไดร์ฟ DVD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์

DVD-RAM
DVD-RAM หรือ ดีวีดีแรม เป็นเสมือนหนึ่งฮาร์ดดิสก์ มีการอ่านเขียนข้อมูลแบบสุ่มหรือแรนดอม (Random) เดิมมีความจุเพียง 2.6GB ต่อหน้า แต่ถูกปรับปุรงให้เป็น 4.7GB ต่อหน้าในภายหลัง และในปัจจุบันแผ่น DVD-RAM แบบดับเบิลไซด์จะมีความจุสูงสุดถึง 9.4GB สามารถเขียนทับได้มากกว่า 100,000 ครั้งโดยไม่ต้องรีฟอร์แมตก่อน อย่างไรก็ตาม DVD-RAM มีข้อจำกัดคือ ไม่สามารถเล่นกับเครื่องเล่น DVD หรือไดร์ฟ DVD-ROM ได้ จำเป็นต้องเล่นกับไดร์ฟ DVD-RAM โดยเฉพาะเท่านั้น

DVD-ROM
DVD-ROM หรือ ดีวีดีรอม รายละเอียดเชิงเทคนิคโดยทั่วไปจะเหมือนกันกับ DVD Video คือฟอร์แมตมาตรฐานที่ใช้กันใน "ฮอลลีวูด" (Hollywood) หรือในวงการภาพยนตร์ เพื่อการบันทึกข้อมูลภาพ ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง รวมถึงข้อมูลเสียง มีคุณภาพสูงกว่าฟอร์แมต CD และมีความจุสูงสุดประมาณ 17 กิกะไบต์ แต่ที่พิเศษกว่าคือ สามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ด้วย เพื่อการบันทึกข้อมูลประเภทดาต้าอื่นๆ

DVD-RW
DVD-RW หรือ ดีวีดี-อาร์ดับเบิลยู เป็นมาตรฐานที่พัฒนาต่อยอดจาก DVD-R ให้มีความสามารถทั้งอ่านและเขียน มีความจุ 4.7GB (กิกะไบต์) ต่อหน้า สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำ (Re-Written) ได้ประมาณ 1,000 ครั้ง และสามารถเล่นได้กับทั้งเครื่องเล่น DVD ทั่วไปและไดร์ฟ DVD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับ DVD-R

EEPROM
EEPROM หรือ Ectrically Erasable Programmable Read-Only Memory หรือ อีเอ็ปรอม คือหน่วยความจำรอม (ROM) ที่ผู้ใช้สามารถลบหรือแก้ไขหรือเขียนซ้ำข้อมูลที่บรร จุอยู่ภายในได้ และสามารถกระทำซ้ำได้หลายครั้ง โดยอาศัยแอพพลิเคชั่นที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูงกว่าปกติ EEPROM จะต่างจาก EPROM ตรงที่ไม่จำเป็นต้องถอดออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่ อทำการแก้ไขข้อมูล การลบข้อมูลใน EEPROM จะเป็นการลบข้อมูลทั้งหมด ไม่สามารถเลือกลบเฉพาะบางส่วนได้ อย่างไรก็ตามมันมีอายุการใช้งานจำกัดขึ้นอยู่กับจำนว นครั้งในการลบหรือแก้ไขข้อมูล เช่น 10 ครั้งหรือ 100 ครั้ง รูปแบบพิเศษของ EEPROM คือหน่วยความจำแฟลช (Flash Memory) ซึ่งใช้ระดับไฟปกติในเครื่องพีซีสำหรับการลบหรือเขีย นหรือแก้ไขข้อมูล

EPROM
EPROM หรือ Erasable Programmable Read-Only Memory หรือ เอ็ปรอม คือ พีรอม (PROM) ซึ่งสามารถลบและนำมาใช้ซ้ำได้ การลบข้อมูลในเอ็ปรอมสามารถทำได้โดยการนำไปตากแดด รังสีอุลตร้าไวโอเลตในแสงแดดจะทำปฏิกิริยากับชิพหน่ว ยความจำและลบข้อมูลทั้งหมดออกไป อย่างไรก็ตามการลบข้อมูลจะเกิดขึ้นภายใต้แสงแดดจัดเท ่านั้น แสงแดดที่ส่องผ่านเข้ามาในห้องอาจมีปริมาณรังสีอุลตร ้าไวโอเลตไม่เพียงพอสำหรับกระบวนการดังกล่าวได้

Firewall
Firewall หรือ ไฟร์วอลล์ คือเทคโนโลยีที่ช่วยกันผู้บุกรุก ทั้งจากอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายอื่นๆ ไม่ให้เข้าถึงข้อมูลบนเครื่องพีซีของคุณ โดยการกรองข้อมูลทั้งหมดที่ไหลเข้าหรือออกจากเครื่อง คอมพิวเตอร์

ระบบหนึ่งหรือหลายระบบรวมกัน ซึ่งสร้างหรือควบคุมให้มีเส้นแบ่งระหว่างสองเครือข่า ยขึ้นไป เป็นเกตเวย์ที่จำกัดการเข้าถึงเครือข่ายต่างๆ โดยเป็นไปตามนโยบายการรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายน ั้นๆ

ไฟร์วอลล์โดยทั่วไปจะเป็นเครื่องพีซีที่มีราคาไม่สูง มากนักและรันระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ เครื่องดังกล่าวจะไม่มีข้อมูลสำคัญอยู่ โดยมีโมเด็มและพอร์ตต่างๆเชื่อมอยู่กับเครือข่ายภายน อก แต่จะมีเพียงพอร์ตเดียวที่ต่อกับเครือข่ายภายใน ซึ่งพอร์ตนี้จะถูกตรวจตราและดูแลอย่างใกล้ชิด

Flash Memory
"Flash Memory" หรือ "แฟลชเมมโมรี่" หรือ "หน่วยความจำแฟลช" คือ หน่วยความจำประเภท "นอนโวลาไทล์" (Nonvolatile) ซึ่งสามารถลบหรือแก้ไขข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในยูนิตของ หน่วยความจำที่เรียกว่า "บล็อก" (Block) ได้ ข้อแตกต่างระหว่าง "EEPROM" กับ "Flash Memory" คือการลบหรือแก้ไขข้อมูล ซึ่ง "EEPROM" จะกระทำในระดับไบต์ หมายความว่า "Flash memory" จะทำงานได้เร็วกว่า

"Flash Memory" มักถูกใช้สำหรับการเก็บคอนโทรลโค้ด เช่น ไบออส ( Basic Input/Output System; BIOS) เนื่องจากง่ายต่อการอัพเดทข้อมูล อย่างไรก็ตาม มันไม่สามารถนำมาใช้งานแทน "แรม" (RAM) ได้ เพราะแรมต้องการการระบุตำแหน่งในระดับไบต์ ไมใช่บล็อก

"Flash" เป็นชื่อที่ได้มาจากพฤติกรรมของชิพที่นำมาใช้ ซึ่งสามารถลบข้อมูลที่บรรจุภายในเซลได้ด้วยการกระทำเ พียงครั้งเดียว

ปัจจุบัน "Flash Memory" ถูกใช้ในอุปกรณ์ดิจิตอลชนิดต่างๆมากมาย เช่น โทรศัพท์มือถือ, กล้องดิจิตอล, แลนสวิตช์, พีซีการ์ดสำหรับโน้ตบุ๊ค, เซ็ตท็อปบ็อกซ์, คอนโทรลเลอร์ ฯลฯ


1 ความคิดเห็น:

tajsacaiazzo กล่าวว่า...

Casino Player App: Download Casino-Login Casino For iPhone
The Casino 양산 출장샵 Player App will be the ONLY mobile casino experience you 세종특별자치 출장마사지 can get with a mobile phone casino 동두천 출장안마 and other mobile games that you can 아산 출장안마 use. 성남 출장마사지