วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

คำศัพท์คอมพิวเตอร์

WiMAX
WiMAX (Worldwide Interoperability for Microwave Access) หรือมาตรฐาน IEEE 802.16 คือเทคโนโลยีไร้สายความเร็วสูงล่าสุด ที่คาดว่าจะถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายในอนาคตอันใกล้ ต่อมามีการแตกเวอร์ชั่นเป็น IEEE 802.16a ซึ่งได้รับอนุมัติออกมาเมื่อเดือนมกราคม 2004 โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) มีรัศมีทำการ 30 ไมล์ (ประมาณ 48 กิโลเมตร) และมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุด 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) กว้างกว่า 10 เท่าและเร็วกว่า 30 เท่าเทียบกับ 3G

คุณสมบัติเด่นของ IEEE 802.16a คือความสามารถในการส่งสัญญาณจากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-Multipoint) ได้พร้อมกัน, รองรับการทำงานแบบ Non-Line-of-Sight คือทำงานได้แม้มีสิ่งกีดขวาง เช่น ต้นไม้หรืออาคาร และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ให้บริการบรอดแบนด์ในการขยายพื้นที่ให้ บริการ มาตรฐาน IEEE 802.16a จะทำงานบนความถี่ย่าน 2-11 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) และสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มาตรฐานชนิดอื่นๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้

IEEE 802.16a สามารถตอบสนองความต้องการในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกลที่สาย เคเบิลลากไปไม่ถึงได้เป็นอย่า งดี ขณะเดียวกันก็สะดวกสบายและประหยัดสำหรับสำหรับผู้ให้บริการในการขยายเครือ ข่ายที่มีอยู่แล้ว เพราะไม่ต้องลงทุนขุดถนนเพื่อวางสายเคเบิล นอกจากนี้ IEEE 802.16a ยังได้รับการปรับปรุงในเรื่องคุณภาพในการให้บริการ (QoS) ให้สามารถรองรับได้ทั้งภาพ (Video) และเสียง (Voice) โดยไม่ใช้ทรัพยากรของเครือข่ายมากอย่างเดิม (Low Lantency Network) ส่วนเรื่องซีเคียวริตี้ ได้เพิ่มคุณสมบัติของความเป็นส่วนตัว (Privacy) ซึ่งต้องได้รับอนุญาต (Authentication) ก่อนที่จะเข้าออกเครือข่าย และมีการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) ขณะรับส่ง ทำให้การรับส่งข้อมูลบนมาตรฐานตัวนี้มีความปลอดภัยสูง

เวอร์ชั่นต่างๆของ WiMAX ในปัจจุบันมีดังนี้

IEEE 802.16 เป็นมาตรฐานที่ให้ระยะทางการเชื่อมโยง 1.6-4.8 กิโลเมตร เป็นมาตรฐานเดียวที่สนับสนุน LoS (Line of Sight) คือต้องไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างเครื่องรับเครื่องส่ง และรันบนย่านความถี่ 10-16 GHz

IEEE 802.16a เป็นมาตรฐานที่ปรับปรุงจาก IEEE 802.16 เดิม รันบนความถี่ย่าน 2-11 GHz โดยคุณสมบัติที่ได้รับการปรับปรุงจากมาตรฐาน 802.16 เดิมคือ การรองรับการทำงานแบบ NLoS (Non-Line-of-Sight) คือแม้มีสิ่งกีดขวางก็ยังทำงานได้ รัศมีทำการ 30 ไมล์ และความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุด 75 Mbps นั่นหมายความว่า WiMAX สามารถรองรับบริการเครือข่ายความเร็วสูงระดับ ที 1 (T1-Type) จำนวน 60 ราย และบริการ DSL จำนวนอีกหลายร้อยรายได้พร้อมกันโดยไม่มีปัญหา

IEEE 802.16e เป็นมาตรฐานที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกับอุปกรณ์โม บายล์ เช่น พีดีเอและโน้ตบุ๊ค รัศมีทำการ 1.6-4.8 กิโลเมตร สนับสนุนการเชื่อมต่อในขณะเคลื่อนที่โดยไม่กระทบกับคุณภาพและความเสถียรของ ระบบ

WiMAX Forum คือองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยบริษัทสื่อสารชั้นนำทั่วโลก เพื่อร่วมกันพัฒนาและกำหนดมาตรฐานกลางสำหรับมาตรฐาน IEEE 802.16 รวมถึงการทดสอบและออกใบรับรองให้แก่อุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐาน IEEE 802.16



PCI Express
เทคโนโลยีใหม่สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต โดยเฉพาะกราฟิกการ์ด มีแบนด์วิธกว้างกว่าและความเร็วสูงกว่ามาตรฐาน PCI ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

มาตรฐาน PCI จะมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดที่ 133 เมกะไบต์ต่อวินาที (MBps) และเป็นการส่งผ่านแบบทิศทางเดียว เทียบกับ 250 MBps ต่อทิศทางของ PCI Express และเป็นการส่งผ่านข้อมูลแบบ 2 ทิศทาง รวมเป็นแบนด์วิธทั้งสิ้น 500MBps

นั่นหมายถึงความเร็วโดยรวมของระบบที่สูงขึ้น และประสิทธิภาพในการใช้งานเครือข่ายกิกะบิตที่สูงขึ้น ซึ่งปกติจะเกิดปัญหาคอขวด ทั้งยังเป็นการปูทางสำหรับเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น HDTV (High-Definition TV) และกราฟิกเทคโนโลยีระดับแอดวานซ์ ด้วย


Phishing
พฤติกรรมการหลอกลวงผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อล้วงข้อมูลส่วนตัว ด้วยการอ่อยเหยื่อออนไลน์ จนเป็นที่มาของคำว่า phishing โดยเลียนคำว่า fishing ที่หมายถึง การตกปลา วิธีการหลอกลวงจะเริ่มต้นจากการสุ่มส่งอีเมล์ไปยังสมาชิกของผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ต (ไอเอสพี) หรือบริษัทการเงินที่น่าเชื่อถือ โดยเนื้อหาในอีเมล์จะขอให้ผู้เป็นสมาชิกติดต่อทางบริษัท โดยผ่านทางเว็บเพจที่ระบุไว้ในตอนท้ายของอีเมล์ ซึ่งสุดยอดของกลเม็ดนี้ก็คือการลวงใช้ URL เดียวกันกับเว็บไซต์จริง ๆ ของบริษัทต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้เป็นสมาชิกเว็บไซต์นั้นๆ หลงเชื่อคลิกเข้าไปที่เว็บเพจดังกล่าว โดยจะเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ที่ถูกเลียนแบบให้มีรูปลักษณ์หน้าตาคล้ายคลึง กับเว็บไซต์จริงของทางบริษัทเป็ นอย่างมาก ในหน้าเว็บไซต์ดังกล่าว จะมีข้อความให้ผู้ที่หลงเชื่อกรอกรายละเอียดต่างๆ ในการเป็นสมาชิกเสีย ใหม่ รวมทั้งรหัสผ่านหรือพาสเวิร์ด และหมายเลขบัตรเครดิตด้วย เท่านี้เหยื่อก็ติดกับแฮคเกอร์เหมือนเป็นปลาน้อยหลงกลนักตกปลา


Clustering
ระบบคลัสเตอร์ หรือคลัสเตอริ่ง หมายถึงการเชื่อมระบบการทำงานของเซิร์ฟเวอร์เข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มกำลังและความสามารถในการประมวลผล ซึ่งอาจเทียบเท่าระดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์หรือสูงกว่าก็ได้ สำหรับการประมวลผลงานที่มีความซับซ้อน โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ ข้อดีคือประหยัดค่าใช้จ่าย คือถูกกว่าเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์จริงๆ แต่ข้อเสียคือยุ่งยาก


Client/Server
วิธีการประมวลผลแบบกระจายวิธีหนึ่ง โดยมีการโต้ตอบกันระหว่างไคลเอ็นต์ซอฟต์แวร์ที่อยู่บนเครื่องของผู้ใช้และ เซิร์ฟเวอร์ซอฟต์แวร์ที่อยู่บนโ ฮสต์คอมพิวเตอร์โฮสต์
คอมพิวเตอร์อาจจะเป็นยูนิกซ์ เมนเฟรมหรือเครื่องประเภทอื่นได้ ไคลเอ็นต์ซอฟต์แวร์จะจัดการด้านการแสดงผลข้อมูล เซิร์ฟเวอร์ซอฟต์แวร์จทำหน้าที่ของฐานข้อมูลการติดต่อระหว่างซอฟต์แวร์ทั้ง คู่จะกำหนดโดยโปรโตคอลเฉพาะ วิธีการประมวลผลแบบไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์นี้ที่เป็นที่นิยมมากขึ้นเมื่อ เครื่องส่วนบุคคลและเครือข่ายมีความสามารถเพิ่มมากขึ้น


CCITT
ชื่อย่อขององค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศมีชื่อเต็มว่า คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านโทรศัพท์และโทรเลขระหว่างชาติ
(International Telephone and Telegraph Consultative Committee) องค์กรนี้มีหน้าที่ในการจัดทำมาตรฐานเช่น X.25 และ X.400 หน่วยงานที่ดูแล CCITT คือ International Telecommunications Union (ITU) ได้เปลี่ยนชื่อ CCITT เป็น ITU-T เรียบร้อยแล้ว


Broadband
สื่อกลางประเภทสายเคเบิลที่สามารถส่งข้อมูลได้หลายช่องทาง (ใช้แถบความถี่หลายความถี่)


Bind Berkeley Internet Domain Software
ไบนด์เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับระบบเบิร์คลีย์ยูนิกซ์ เพื่อให้เนมเซิร์ฟเวอร์
(name server) ใช้ในการทำงานทำงานเกี่ยวกับระบบชื่อโดเมน


Binary file
ไบนารีไฟล์เป็นกลุ่มข้อมูลขนาดหนึ่งไบต์เรียงต่อกัน ข้อมูลเหล่านี้มักไม่มีความหมายในตัวมันเอง ไม่สามารถอ่านได้แบบข้อมูลเท็กซ์ ตัวอย่างเช่นไฟล์ที่เป็นแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเป็นไบนารีไฟล์ การรับส่งไฟล์ประเภทนี้โดยใช้เอฟทีพีต้องกำหนดประเภทของไฟล์เป็น "bin"หรือ "image"


Baseband
สื่อกลางประเภทสายเคเบิลที่สามารถส่งข้อมูลได้เพียงช่องทางเดียว (ใช้แถบความถี่พื้นฐานความถี่เดียว) อีเธอเน็ตเริ่มแรกถูกออกแบบเป็นสื่อประเภทเบสแบนด์ และยังมีการใช้งานในแบบนี้อยู่อีกมาก (ถึงแม้ว่าบางครั้งจะมีการส่งข้อมูลของอีเธอเน็ตไปในสื่อแบบบรอดแบนด์)


anonymous
การถ่ายโอนแฟ้มโดยไม่ระบุชื่อ
การใช้โปรแกรมในการถ่ายโอนแฟ้มในระบบที่เชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ตในฐานะของ ผู้ใช้งานชั่วคราว เพื่อติดต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ที่เราไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้าถึง ลงบันทึกเปิด (log on) เพื่อเข้าสู่สารบบ หรือถ่ายโอนแฟ้มจากคอมพิวเตอร์นั้นมายังเครื่องของเรา เมื่อเราลงบันทึกเปิดเข้าไปยังเครื่องบริการนั้นเราควรพิมพ์คำ "anonymous" เป็นชื่อของเราและพิมพ์เลขที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นรหัสผ่าน ในการของความช่วยเหลือในการค้นหาแฟ้มในเครื่องบริการนั้น เราสามารถใช้อาร์คี (Archie),โกเฟอร์ (Gopher) , เวส (WAIS) หรือ เวิล์ดไวด์เว็บ (WWW) ได้


Account
Account บัญชี รูปแบบของการเข้าถึงคอมพิวเตอร์หรือข่ายงาน โดยต้องมีบัญชีชื่อผู้ใช้เฉพาะและรหัสผ่านซึ่งข้อตกลงระหว่างผู้ใช้ กับผู้ให้บริการในข่ายงาน ผู้ใช้ต้องตกลงปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ต่างๆ ในการเข้าถึงข่ายงาน และในบางกรณีต้องมีการจ่ายค่าบริการด้วย


Authoring Tool
เป็นเครื่องมือช่วยทำเอกสาร เป็นซอฟต์แวร์(อาจจะเป็นฮาร์ดแวร์ก็ได้) ที่ช่วยในการจัดทำเอกสารออนไลน์ โดยเฉพาะเอกสารประเภทไฮเปอร์เท็กซ์ หรือมัลติมิเดีย


Asynchronous Transfer Mode (ATM)
เอทีเอ็มเป็นสื่อชนิดใหม่เหมาะสำหรับการสื่อสารข้อมูลบนสายสื่อสารที่มีความ เร็วสูง (เช่นสายไฟเบอร์ออพติก) และมีความสามารถในการทำสวิชชิ่งได้เร็ว เอทีเอ็มจะย้ายข้อมูลขนาด 53 ไบต์ที่เรียกว่า "เซลล์" (ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าขนาดของแพคเก็ตที่ใช้ในอีเธอร์เน็ตมาก) เอทีเอ็มเป็นมาตรฐานการสื่อสารระกับต่ำชนิดแรกที่ใช้งานได้ดีทั้งในเครือ ข่ายท้องถิ่นและเครือข่ายระยะกว้ าง


ASCII file
แอสกี้ไฟล์เป็นไฟล์ที่เข้ารหัสตามมาตรฐาน ASCII (American Standard Code for Information Interchange) มีรหัสอักษรทั้งหมด 128 ตัว คำว่า "flat ASCII file" มักจะใช้เรียกเท็กซ์ไฟล์ที่ไม่มีอักษรควบคุมพิเศษหรือมีข้อมูลแบบไบนารีเลย ในการดาวน์โหลดไฟล์โดยใช้เอพทีพีไฟล์ชนิดเท็กซ์จะหมายถึงแอสกี้ไฟล์


Archie
อาร์ซีเป็นบริการในเครือข่ายที่ช่วยในการค้นหาตำแหน่งของ annonymous FTP ที่มีไฟล์ที่ต้องการ เขียนโดยมหาวิทยาลัยแมคกิล (และปัจจุบันดูแลโดย Bunyip Information Systems) ในรุ่นถัดไป อาร์ซีจะสามารถค้นหาไฟล์ตามบทย่อ ชื่อผู้เขียน รวมทั้งเงื่อนไขอื่นๆได้ และเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในการค้นหาทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต


API, Applications Programming Interface
เอพีไอเป็นวิธีการติดต่อเพื่อขอใช้บริการของระบบปฏิบัติการ จากโปรแกรมอื่นที่เขียนขึ้น โดยโปรแกรมเมอร์ ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องทราบวิธีการเหล่านี้ แต่บางครั้งต้องรู้ว่าทีซีพี/ไอพีซอฟต์แวร์ที่ใช้อยู่นั้นมีวิธีการติดต่อ เป็นแบบใดเพื่อเลือกโปรแกรมที่จะมาใช้งานได้ถูกต้อง เช่นถ้าทีซีพี/ไอพีซอฟต์แวร์ที่ใช้มีการติดต่อแบบ (Winsock API) ก็ต้องเลือกโกเฟอร์ไคลเอ็นต์ที่ใช้การติดต่อแบบนี้ด้วยเช่นกัน


Anonymous FTP
เป็นเอฟทีพีเซิร์ฟที่ยอมให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดไฟล์ไปใช้โดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชีบนเซิร์ฟเวอร์นั้น (แต่ผู้ใช้ต้องใส่ชื่อ
บัญชี "anonymous" เป็นชื่อล็อกอินแทน) มีเซิร์ฟเวอร์บนอินเตอร์เน็ตหลายแห่งที่ให้บริการนี้ ให้ดูที่คำว่า Archie เพิ่มเติม



Address Resolution Protocol (ARP)
เออาร์พีเป็นโปรโตคอลบนอินเตอร์เน็ตที่ให้ทีซีพี/ไอพีทำงานกับอุปกรณ์ และโปรโตคอลมาตรฐาน ที่ระดับต่ำกว่าได้ ARP จะเปลี่ยนหมายเลขไอพีของเครื่องปลายทางที่ส่งมาในอินเตอร์เน็ต ให้เป็นหมายเลขแอดเดรส ของเน็ตเวิร์กการ์ด ในเครื่องนั้นดังเช่นในกรณีที่ทีซีพี/ไอพีบนเครือข่ายอีเธอร์เน็ต การเปลี่ยนแอดเดรสของ ARP จะเกิดการทำงานของทีซีพี/ไอพี ซอฟต์แวร์เองโดยอัติโนมัติ



Acrobat
อโครแบตเป็นชุดของเครื่องมือของบริษัท Adobe Corporation ซึ่งช่วยให้ผู้จัดทำเอกสารแปลงไฟล์ที่อยู่ในรูปแบบโพสต์สคริปต์ (Postscript) ให้อยู่ในรูปแบบเอกสารที่โอนย้ายได้ (Portable Document Format) รวมทั้งเครื่องมือที่ช่วยในการแสดงเอกสารในรูปแบบนี้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั่วไป ภาษาโพสต์สคริปต์เป็นภาษาที่เรียกได้ว่ามีหลายสำเนียง แต่ละสำเนียงก็มีความแตกต่างกันและใช้เฉพาะกับเครื่องพิมพ์รุ่นใดรุ่นหนึ่ง ทำให้เกิดปัญหาในการส่งเอกสารรูปแบบโพสต์สคริปต์ระหว่างเครื่อง อโครแบตช่วยแก้ปัญหาการส่งข้ามเครื่องและยังสามารถแสดงเอกสารบนหน้าจอได้โดย ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ออกมา


ACK Acknowledgment
แอคหรือการตอบรับ เป็นส่วนหนึ่งของโปรโตคอลสื่อสารข้อมูลการได้รับ ACK หมายความว่าข่าวสารที่ส่งออกไปได้รับแล้วเรียบร้อย หรือหมายความว่าตกลงตามข้อเสนอที่เสนอไป ตรงข้ามกับ NAK


twisted pair
twisted pair เป็นสายทองแดงแบบดั้งเดิมที่เชื่อมต่อบ้านและบริษัทต่าง ๆ กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เพื่อลด cross talk หรือการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างคู่สาย จะใช้สายทองแดงหุ้มฉนวนพันกันเป็นเกลียว แต่ละการเชื่อมต่อบนสาย twisted pair ต้องการทั้ง 2 สาย เนื่องจากโทรศัพท์บางแบบหรือที่ตั้งโต๊ะ บางที่ต้องการเชื่อมแบบหลายการเชื่อมต่อ สาย twisted pair ในบางครั้งจึงมี 2 คู่ หรือมากกว่าภายในสายเคเบิลเดียว สำหรับที่ตั้งบริษัทบางแห่ง สาย twisted pair มีการหุ้มเพื่อทำหน้าที่เป็นสายดิน ซึ่งเรียกว่า shield twisted pair (STP) สายที่ใช้ตามบ้านทั่วไปคือ unshielded twisted pair (UTP)

twisted pair ในปัจจุบันได้รับการติดตั้งแบบ 2 คู่ ตามบ้าน โดยคู่ที่เพิ่มทำให้สามารถเพิ่มสายได้เมื่อต้องการ

twisted pair จะมีรหัสสีของแต่ละคู่ไม่ซ้ำ สำหรับแบบหลายคู่ ในการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น อะนาล็อก, ดิจิตอล และ Ethernet ต้องการคู่ที่แตกต่างกัน ถึงแม้ว่า Twisted pair มักจะเกี่ยวข้องกับการใช้งานในบ้าน แต่สาย twisted pair เกรดสูงมักจะใช้ สำหรับการวางสายแนวนอนในการติดตั้ง LAN เนื่องจากถูกว่า coaxial cable


Tweak UI
Tweak UI เป็นซอฟต์แวร์ utility ที่ให้ Windows9x, Windows NT และ Windows 2000 ใช้ปรับปรุง desk top user interface และคุณลักษณะของระบบอื่นที่เชื่อมต่อ การใช้ Tweak UI ทำให้ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนความเร็วเมนู, การทำภาพเคลื่อนไหวของ Windows และจำนวนของส่วนใช้งานเดียวกัน Microsoft Internet Explorer ซึ่ง Tweak UI ยอมให้ผู้ใช้เปลี่ยนการตั้งค่า รวมถึงบางอย่างในระบบ registry เช่น ผู้ใช้สามารถเริ่มความเร็วในการ startup โดยลดความถี่การทำงานของ scandisk

Microsoft ได้รวม Tweak UI เป็นหนึ่งของหลาย “Power Toys” ที่สามารถเป็นตัวเลือกในการติดตั้งผู้ใช้ จะได้รับคำแนะนำให้ทำการสำรอง registry เสมอ (เช่น การสำเนาไฟล์ใหม่ด้วยชื่ออื่น) ก่อนการทำอย่างอื่นในการปรับปรุง


tunneling
tunneling มีความสัมพันธ์กับอินเตอร์เน็ต โดยใช้อินเตอร์เน็ต เป็นส่วนของเครือข่ายความปลอดภัยส่วนตัว “tunnel” เป็นเส้นทางเฉพาะที่ให้ข่าวสาร หรือไฟล์ของบริษัทเดินทางผ่านอินเตอร์เน็ตโปรโตคอล หรือกลุ่มของกฏการสื่อสารที่เรียกว่า Point-to-Point Tunneling Protocol ได้รับการเสนอขึ้นในการสร้าง virtual private network โดยผ่าน “tunnel” บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งหมายความว่าบริษัทอาจจะไม่จำเป็นต้องมี lease line ของตัวเอง สำหรับการสื่อสารในพื้นที่กว้างแต่สามารถใช้เครือข่ายสาธารณะได้ PPTP สนับสนุนโดย Microsoft และบริษัทอื่น และ Layer 2 Forwarding ซึ่งเสนอโดย CISCO system เป็นข้อเสนอหลัก สำหรับมาตรฐานใหม่ของ Internet Engineering Task Force (IETF) โดย PPTP ซึ่งเป็นส่วนขยายของโปรโตคอล Point-to-Point Protocol ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สนับสนุน PPP client จะสามารถใช้ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตอิสระ ในการเชื่อมต่ออย่างปลอดภัย กับเครื่องแม่ข่ายของบริษัทในทุกที่

true color
true color เป็นข้อกำหนดของสีของ pixel บนจอภาพที่ใช้ค่า 24-บิต ซึ่งยินยอมให้ใช้สีได้ถึง 16,777,216 สี จอภาพส่วนใหญ่สนับสนุนเฉพาะค่าสี 8-บิต ซึ่งยอมให้มีสีได้ 256 สี จำนวนของบิตใช้ในการกำหนดสี คือ bit-depth บางครั้ง true color รู้จักในชื่อ สี 24-บิต จอภาพสีบางระบบให้สี 32-บิต โดยบิตที่เพิ่ม เรียกว่า alpha channel ใช้สำหรับการควบคุมและ special effect


transistor
transistor (ทรานซิสเตอร์) ประดิษฐ์โดยนักวิทยาศาสตร์ 3 คน ใน Bell Laboratories ในปี 1947 ได้เข้าแทนที่ หลอดสูญญากาศในฐานะ ตัวควบคุมสัญญาณอิเลคโทนิกส์ ทรานซิสเตอร์ควบคุมกระแส หรือความต่างศักย์และทำหน้าที่เหมือน สวิท์ชหรือ gate สำหรับสัญญาณอีเลคโทนิคส์ ทรานซิสเตอร์ประกอบด้วย 3 ชั้น ของวัตถุกึ่งตัวนำ แต่ละชั้นสามารถนำกระแสไฟฟ้า สารกึ่งตัวนำเป็นวัสดุ เช่น เยอรมันเนียม และซิลิคอน ที่การนำไฟฟ้าเป็นแบบ “semi-enthusiastic” ซึ่งมีลักษณะระหว่างตัวนำแท้ เช่น ทองแดง กับฉนวน เช่น พลาสติก

วัสดุกึ่งตัวนำมีคุณสมบัติพิเศษ โดยกระบวนการทางเคมีเรียกว่า doping โดยผลลัพธ์ของ doping ในวัสดุที่เป็น ทั้งการเพิ่มอิเล็กตรอนพิเศษให้กับวัสดุ (ซึ่งเรียกว่า N-type สำหรับการเพิ่มประจุลบให้ตัวนำ) หรือ สร้าง “โพรง” ในวัสดุโครงสร้างผนึก (ซึ่งเรียกว่า p-type เพราะมีผลเป็นการเพิ่มประจุบวกให้ตัวนำ) ทรานซิสเตอร์โครงสร้าง 3 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นวัสดุกึ่งตัวนำ N-type อยู่ระหว่าง ชั้น P-type (PNP) หรือ ชั้น P-type 1 ชั้น อยู่ระหว่างชั้น N-type (NPN)

เมื่อกระแสหรือความต่างศักย์เปลี่ยนใน 1 ชั้นของชั้นนอกวัสดุกึ่งตัวนำ จะมีผลกระทบต่อกระแส หรือความต่างศักย์อย่างมากกับชั้นใน 1 ชั้น มีผลในการเปิดหรือปิด gate ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ ใช้วงจรทำด้วยเทคโนโลยี Complementary Metal Oxide Semiconductor (CMOS) ซึ่ง COMS ใช้ทรานซิสเตอร์คู่ต่อ gate (ตัวหนึ่งคือ N-type อีกตัวหนึ่งคือ p-type) เมื่อทรานซิสเตอร์ตัวหนึ่งดำรงสถานะทางตรรกะจะมีความต้องการทั้งหมดไม่มี พลังงาน

ทรานซิสเตอร์เป็นส่วนประกอบพื้นฐานในวงจรรวม (Integrated Circuit หรือ IC) ซึ่งประกอบด้วยทรานซิสเตอร์จำนวนมาก ที่ต่อเชื่อมภายในเป็นวงจร และเป็นไมโครชิป หรือชิป ชิ้นเดียว



topology
topology เป็นการอธิบายชนิดของตำแหน่งในความหมายด้านผังทางกายภาค ในความหมายของเครือข่ายการสื่อสาร topology เป็นการอธิบายภาพของคอนฟิกหรือการจัดการของระบบเครือข่ายรวมถึง mode และสายเชื่อม



Token ring
เครือข่ายแบบ token ring เป็นระบบเครือข่ายแบบ LAN ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อด้วย topology แบบ หรือ star และระบบเลขฐานสอง (หรือ token) เป็นแบบแผนการส่งที่ใช้ในการป้องกันการชนกันของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง ที่ต้องการส่ง message ในเวลาเดียวกัน โปรโตคอลของ token ring ได้รับการใช้เป็นอันดับที่สองในระบบ LAN รองจาก Ethernet โปรโตคอล โดย IBM token ring ได้นำไปสู่มาตรฐานของ IEEE 802.5 ซึ่งโปรโตคอลทั้งสองได้รับการใช้และคล้ายกันมาก การส่งข้อมูลของเทคโนโลยี IEEE 802.5 token ring ให้อัตราการส่งข้อมูล 4 –16 Mbps ลักษณะการทำงานโดยย่อ

ใช้การส่ง information frame เปล่า ไปรอบ ring อย่างต่อเนื่อง

เมื่อมีคอมพิวเตอร์ตอบการส่ง message จะเพิ่ม token เข้าไปใน frame เปล่า (ซึ่งบิตของ token ในเฟรมจะเปลี่ยนจาก “0” เป็น “1”) และแทรก message และจุดหมายปลายทางใน frame

เมื่อ frame ได้รับการตรวจสอบโดยแต่ละ เวิร์กสเตชั่น โดยเวิร์กสเตชั่นที่เป็นปลายทางของ message จะก็อบปี้ message จาก frame แล้วเปลี่ยน token กลับเป็น 0

เมื่อ frame กลับไปที่จุดเริ่มต้น และเห็นว่า token เปลี่ยนเป็น 0 แล้ว ซึ่งแสดงว่ามีการรับ message ไปแล้ว จากนั้นจะมีการลบ message จาก frame

frame ดังกล่าวจะหมุนเวียนเป็น frame เปล่าต่อไป พร้อมที่จะรับ message จากอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์ใหม่



Top-level domain (TLD)
top-level domain เป็นส่วนของ Uniform Resource Locator (URL) หรือ IP address ที่ใช้ระบุประเภททั่วไปของอินเตอร์เน็ต domain เช่น “com” สำหรับ “เชิงพาณิชย์” edu สำหรับ “สถาบันการศึกษา”



thin client
“thin client” เป็นคอมพิวเตอร์ราคาต่ำแบบการจัดการส่วนกลาง ไม่มีตัวเล่น CD-RAM, ดิสเกต ไดร์ฟ และ expansion slot คำนี้มาจากความจริงที่คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กในเครือข่าย มีแนวโน้มที่จะเป็นลูกข่าย และไม่ใช่แม่ข่าย เนื่องจากแนวคิดการจำกัด ความสามารถของคอมพิวเตอร์เหล่านี้ เฉพาะโปรแกรมประยุกต์สำคัญ แนวโน้มการซื้อและยังคงคำว่า “thin” ในความหมายของการประยุกต์ลูกข่าย คำว่า “thin client” ดูเหมือนมีความหมายเหมือน Net PC และ Network computer ซึ่งมีแนวคิดที่แตกต่างกันบางส่วน Net PC อยู่บนพื้นฐานของไมโครโพรเซสเซอร์ ของ Intel และ ซอฟต์แวร์ Windows (Intel เป็นผู้สร้างข้อกำหนดของ Net PC) Network computer เป็นแนวคิดที่สนับสนุน โดย Oracle และ Sun Microsystems ซึ่งอาจจะไม่ใช่ไมโครโพรเซสเซอร์ ของ Intel และใช้ระบบปฏิบัติการแบบ JAVA การเพิ่มจำนวนของ thin client ตามสถานที่ทำงานและสถานศึกษา ในปัจจุบัน สะท้อนว่าบริษัท และสถาบันต้องการคอมพิวเตอร์ราคาถูก สำหรับการใช้อินเตอร์เน็ต


Text
ในเทคโนโลยีสารสนเทศ text (ข้อความ) คือ ชุดของตัวอักษรที่คนอ่านได้ และสามารถเข้ารหัสเป็น รูปแบบคอมพิวเตอร์อ่านได้ เช่น ASCII ตามปกติ text จะแยกจากข้อมูลเข้ารหัสที่ไม่ใช่ตัวอักษร เช่น ภาพกราฟฟิก ในรูปแบบของ bitmap และรหัสโปรแกรม ซึ่งบางครั้งอ้างถึงในฐานะ “binary” (แต่จะอยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์อ่านได้)


terminal server
โดยทั่วไปในเทคโนโลยีสารสนเทศ terminal server เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ หรือเครื่องแม่ข่ายที่ให้ terminal (เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล, เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์อื่น ๆ ) ต่อเชื่อมกับเครือข่าย LAN หรือ WAN โดย terminal ต่อเชื่อมกับ terminal server จากพอร์ตอนุกรม RS-232C หรือ RS-423 อีกด้านหนึ่งของ terminal server ต่อผ่านอินเตอร์เฟซเครือข่าย (network interface cards หรือ NIC) ไปยังเครือข่าย LAN หรือผ่านโมเด็มเพื่อต่อเข้ากับเครือข่าย WAN หรือ เครือข่าย X.25 หรือ gateway 3270 (ความแตกต่าง ทำให้ terminal server มีชนิดการติดต่อที่แตกต่างกัน บางครั้งสามารถจัดลำดับความแตกต่างของการคอนฟิก ตามความต้องการของลูกค้า) การใช้ terminal server หมายถึงแต่ละ terminal ไม่ต้องการการ์ดอินเตอร์เฟซ หรือโมเด็มของตัวเอง การเชื่อมต่อกับทรัพยากรภายใน terminal server ซึ่งปกติมีการใช้ร่วมกันโดย terminal ติดต่อ

บาง terminal server สามารถใช้งานร่วมได้ถึง 128 terminal โดย terminal สามารถเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล, เครื่องพิมพ์ emulate 3270 หรืออุปกรณ์ที่มีอินเตอเฟซ RS-232/423 ในบาง terminal server สามารถใช้กับ terminal แบบ TCP/IP สำหรับการติดต่อแบบ Telnet ไปที่ host, LAT ไปยัง DEC host หรือ TN 3270 สำหรับการติดต่อแบบ Telnet ไปยัง IBM host ด้วยการประยุกต์ 3270 ในบาง terminal server ให้ผู้ใช้ terminal มีหลาย host ในการติดต่อกับระบบปฏิบัติการของ host ที่แตกต่างกัน

คำว่า communication server ในบางครั้งใช้แทนที่ terminal server



terminal
1) ในระบบสื่อสาร terminal เป็นอุปกรณ์ที่จุดสิ้นสุดของปลายทางในการส่งสัญญาณในทางปฏิบัติ terminal ได้รับไปเฉพาะส่วนขยาย จุดปลายขอเครือข่าย ไม่ใช่อุปกรณ์ส่วนกลางหรือกิ่งกลาง

2) ในระบบโทรศัพท์ คำว่า Data terminal Equipment ใช้อธิบายคอมพิวเตอร์ปลายทางของ DTE -to- DCE (Data Communications Equipment) ในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และโมเด็ม

3) ในคอมพิวเตอร์ terminal (บางครั้งเรียกว่า “dumb terminal”) เป็นอุปกรณ์ของผู้ใช้ (ปกติประกอบด้วยจอภาพและคีย์บอร์ด) ซึ่งเชื่อมต่อกับเครื่องเมนเฟรม หรือเครื่องแม่ข่าย และเป็นที่มาของแนวคิด network computer

4) คำนี้ในบางครั้งหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ต่อเข้ากับระบบเครือข่าย


Terabit
ในการวัดความเร็วการส่งข้อมูล terabit คือ 1 ล้านล้านของเลขฐานสอง คือ 1,000,000,000,000 บิต terabit ใช้ในการวัดจำนวนรวมของข้อมูลที่ส่งผ่านในหนึ่งวินาทีระหว่าง จุด 2 จุด หรือภายในอุปกรณ์เครือข่าย เช่น ระบบเครือข่ายที่สวิชต์ส่งผ่านแพ็คเกตที่เข้ามาไปยังอุปกรณ์ หรือส่งออกที่ความเร็ว 1 terabit ต่อวินาที ซึ่ง terabit ต่อวินาที สามารถย่อเป็น Tbps ถึงแม้ว่า บิต (bit) เป็นหน่วยของระบบเลขฐานสอง แต่บิตในระบบการสื่อสารนับด้วยระบบเลขฐานสิบ แตกต่างจากสถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์ และขอบเขตตำแหน่งของหน่วยความจำเป็นไบต์ (Byte) เป็นเลขยกกำลังของ 2



Telnet
Telnet เป็นวิธีการติดต่อของผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ที่ผู้ติดต่อได้รับอนุญาตในทางเทคนิค telnet เป็นคำสั่งของผู้ใช้ภายใต้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อเข้าถึงคอมพิวเตอร์ในระยะไกล โปรโตคอลของเว็บ หรือ Hypertext Transfer Protocol และ File Transfer Protocol ยินยอมให้ผู้ใช้เรียกไฟล์ที่เจาะจงจากคอมพิวเตอร์ระยะไกล แต่ไม่ได้ logon ในฐานะผู้ใช้ของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น โดยการใช้ telnet ผู้ใช้สามารถ logon ในฐานะผู้ใช้ธรรมดาที่มีสิทธิในการเจาะจงโปรแกรมประยุกต์ และข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์

คำสั่งของ telnet มีลักษณะดังนี้
Telnet the libraryat.harvard.edu เมื่อส่งคำสั่งนี้ไปแล้ว จะมีการ logon ด้วย user id และป้อนรหัสผ่าน ถ้ายอมรับก็สามารถใช้ข้อมูลในคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นได้

telnet ได้รับการใช้งานโดยผู้พัฒนาโปรแกรม และผู้ต้องการใช้โปรแกรมประยุกต์เฉพาะ หรือข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง host ที่เจาะจง



internet telephony (telephony)
telephony เป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับการส่งผ่านด้านอีเลคโทรนิคส์ของเสียง fax และสารสนเทศอื่น ระหว่างผู้ใช้ที่ใช้ระบบที่เกี่ยวของกับโทรศัพท์ อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยลำโพงหรือตัวส่งกับเครื่องรับ จากการเข้ามาถึงคอมพิวเตอร์ และการส่งสารสนเทศดิจิตอล ผ่านระบบโทรศัพท์ และการใช้วิทยุในการส่งสัญญาณโทรศัพท์ การแยกระหว่างโทรศัพท์และโทรคมนาคม ทำให้ยากที่จะพบ อย่างไรก็ตาม telephony หมายถึง เสียงหรือการพูด และการได้ยินสารสนเทศ ซึ่งมักจะเป็นการติดต่อแบบ point – to – point รวมถึงการติดต่อเป็นแบบชั่วคราว

internet telephony เป็นการใช้อินเตอร์เน็ต แทนที่การใช้โครงสร้างพื้นฐานของโทรศัพท์แบบดั้งเดิม และโครงสร้างอัตราในการแลกเปลี่ยน หรือสารสนเทศทางโทรศัพท์อื่น เนื่องจกการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตทำให้โทรศัพท์เฉพาะพื้นที่ หรือทางไกล ถูกกว่าการโทรศัพท์แบบดั้งเดิม

บนอินเตอร์เน็ต มีบริการใหม่ 3 แบบ ในปัจจุบัน หรืออนาคตอันใกล้

ความสามารถในการสร้างการโทรศัพท์ปกติ
ความสามารถในการส่ง fax ด้วยราคาต่ำ ผ่าน gateway บนอินเตอร์เน็ตในเมืองใหม่
ความสามารถในการฝาก voice mail สำหรับหมายเลขที่เรียก
บางบริษัท ได้สร้างผลิตภัณฑ์ หรือวางแผน ที่ให้ความสามารถเหล่านี้ได้แก่ IDT corporation (Net 2 phon), netspeak, NetXCharge, Rockwell International, VocalTec และ VoxSpeak แผนการใช้เหล่านี้สำหรับการบริการ internet phone เป็นการเรียกไปยังผู้ที่เป็นลูกค้าบน web site ปัจจุบันสามารถเพิ่มความสามารถโทรศัทพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเพิ่ม telephone board ในราคาต่ำกว่า 300 เหรียญสหรัฐ ที่ได้รวมหน้าที่ของโมเด็ม sound board, ลำโพง และระบบ voice mail

Telephony API (application program interface) เป็นการให้จาก Microsoft และ Intel ที่ยินยอมให้โปรแกรมประยุกต์ ลูกข่าย Windows ในการเข้าถึงการบริการเสียงบนเครื่องแม่ข่ายและ การติดต่อภายใน เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และระบบโทรศัพท์



Time-Division Multiplexing (TDM)
TDM (time-division multiplexing) เป็นแบบแผนในการรวมสัญญาณ สำหรับการส่งผ่านบนช่องสัญญาณ หรือสายการสื่อสารเดี่ยว แต่ละสัญญาณจะถูกแยกเป็นหลาย segment ขนาดเล็ก
วงจรรวมสัญญาณ ที่ปลายด้านต้นทางของการสื่อสารเชื่อมโยง คือ Multiplexer ซึ่งจะยอมรับข้อมูลนำเข้าจากผู้ใช้อิสระ แล้วแยกแต่ละสัญญาณเป็น segment จากนั้นกำหนด segment ให้เป็นสัญญาณ composite ด้วยลำดับแบบหมุนวนและซ้ำ สัญญาณ composite ที่เก็บข้อมูลทั้งหมดจากผู้ใช้ที่ demultiplexer และเส้นทางที่ไปยังผู้ใช้ปลายทาง วงจรการสื่อสาร 2 ทาง ต้องการ multiplexer/ demultiplexer ที่จุดปลายแต่ละจุด

ถ้ามีสัญญาณจำนวนมาก ต้องส่งผ่านสายเดี่ยวระยะไกล ความระมัดระวังด้านวิศวกรรมมีความจำเป็น เพื่อทำให้มั่นใจว่าระบบทำงานได้ตามปกติ ประโยชน์ของ TDM คือ ความยืดหยุ่น โดยมีแบบแผนที่ยอมให้ สำหรับความหลากหลายในจำนวนของสัญญาณ ที่ส่งผ่านสาย และปรับช่องเวลาเสมอ เพื่อทำให้การใช้มีความเหมาะสมกับ bandwidth ที่มี อินเตอร์เน็ตเป็นตัวอย่างที่ดี ของเครือข่ายการสื่อสาร ที่ปริมาณของ traffic สามารถเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ในบางระบบแบบแผนที่ต่างกันคือ frequency-division multiplexing มีความเหมาะสม


TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
TCP/IP เป็นระบบโปรโตคอล การสื่อสารพื้นฐานของระบบอินเตอร์เน็ต มันสามารถใช้เป็น โปรโตคอลในการสื่อสารภายใน เครือข่ายส่วนบุคคล เรียกว่า intranet และ extranet เมื่อมีการติดต่อโดยตรงกับ internet เครื่องคอมพิวเตอร์จะได้รับการคัดลอกโปรแกรม TCP/IP เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์อื่น ๆ เพื่อทำให้ส่งข้อความขอรับสารสนเทศ
TCP/IP เป็นโปรแกรม 2 เลเยอร์ TCP (Transmission Control Protocol) เป็นเลเยอร์ที่สูงกว่า ทำหน้าที่จัดการแยกข้อความหรือไฟล์แลปรกอบให้เหมือนเดิม IP (Internet Protocol) เป็นเลเยอร์ที่ต่ำกว่า ทำหน้าที่จัดการส่วนของที่อยู่ของแต่ละชุดข้อมูล เพื่อทำให้มีปลายทางที่ถูกต้อง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็น Gateway บนเครือข่ายจะตรวจที่อยู่นี้เพื่อหาจุดหมายในการส่งข้อความ ชุดข้อมูลอาจจะใช้เส้นทางไปยังปลายทางต่างกัน แต่ทั้งหมดจะได้รับการประกอบใหม่ที่ปลายทาง

TCP/IP ใช้ในแบบ client/server ในการสื่อสาร (ระหว่างคอมพิวเตอร์) ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (client) เป็นผู้ขอและการบริการได้รับจากคอมพิวเตอร์เครื่องแม่ข่ายในระบบเครือข่าย การสื่อสารของ TCP/IP เป็นแบบจุดต่อจุด (point -to- point) หมายความว่าการสื่อสารแต่ละครั้งเกิดจากจุดหนึ่ง (เครื่อง host เครื่องหนึ่ง) ไปยังจุดอื่นหรือเครื่อง host เครื่องอื่นในเครือข่าย TCP/IP และโปรแกรมประยุกต์ระดับสูงอื่น ที่ใช้ TCP/IP สามารถเรียกว่า “Stateless” เพราะการขอแต่ละ client ได้รับการพิจารณาเป็นการขอใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับการขอเดิม (แต่แตกต่างจากการสนทนาทางโทรศัพท์) การที่เป็นพาร์ทของเครือข่ายอิสระแบบ “Stateless” ดังนั้นทุกคนสามารถใช้พาร์ทได้อย่างต่อเนื่อง (หมายเหตุ เลเยอร์ของ TCP จะไม่ “Stateless” ถ้ายังทำการส่งข้อความใดข้อความหนึ่ง จะทำการส่งจนกระทั่งชุดข้อมูลนั้นได้รับครบชุด)

ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต จำนวนมากคุ้นเคยกับการประยุกต์เลเยอร์ระดับสูง โดยใช้ TCP/IP เพื่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ท ทั้งนี้รวมถึง World Wide Web’s Hypertext Transfer Protocol (HTTP), File Transfer Protocol (FTP) ซึ่งในการเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ในระยะไกล และ Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) Protocol เหล่านี้ จะเป็นชุดเดียวกับ TCP/IP ในลักษณะ “Suite” เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มักจะเข้าสู่อินเตอร์เน็ต ผ่าน Serial Line Internet Protocol (SLIP) หรือ Point-To-Point Protocol (PPP) โปรโตคอล แบบนี้จะควบคุมชุดข้อมูลของ IP ดังนั้น จึงสามารถใช้ส่งผ่านการติดต่อด้วยสายโทรศัพท์ ผ่านโมเด็ม Protocol ที่สัมพันธ์กับ TCP/IP ได้แก่ User Datagram Protocol (UDP) สำหรับใช้แทน TCP/IP ในกรณีพิเศษ ส่วนโปรโตคอลอื่นที่ใช้โดยเครื่อง host ของเครือข่ายสำหรับการแลกเปลี่ยนสารสนเทศกับ router ได้แก่ Internet Control Message Protocol (ICMP) Interior Gateway Protocol (IGP) Exterior Gateway Protocol (EGP) และ Border Gateway Protocol (BGP)



Transmission Control Protocol (TCP)
TCP (Transmission Control Protocol) ใช้ Internet Protocol (IP) เพื่อส่งข้อมูลในรูปแบบของข่าวสาร ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ต โดย IP ดูแลการควบคุมการส่งข้อมูลที่แท้จริง TCP ดูแลการรักษาเส้นทางของหน่วยข้อมูลแต่ละชุด (เรียกว่า แพ็คเกต - Packets) ซึ่งข้อความจะถูกแบ่งออก เพื่อการใช้ประสิทธิภาพของเส้นทางบนอินเตอร์เน็ต เช่น เมื่อมีการส่งไฟล์ HTML ออกจาก web server ไปที่จุดหมายปลายทาง โปรแกรมเลเยอร์ของ TCP จะแบ่งไฟล์นั้นเป็นหนึ่งชุดหรือมากกว่า หมายเลขของชุดข้อมูลแล้วส่งต่อข้อมูลแต่ละชุดไปที่โปรแกรมเลเยอร์ของ IP ถึงแม้ว่าแต่ละชุดข้อมูลมีปลายทางที่ IP address เดียว แต่ชุดข้อมูลอาจจะเลือกเส้นทางที่ต่างกันบนเครือข่าย เพื่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง TCP จะประกอบชุดข้อมูลแต่ละชุดให้ครบแล้วจึงประกอบข้อมูลเป็นไฟล์เดียว
TCP เป็น protocol ที่รู้จักในลักษณะ connection-oriented protocol หมายถึง การติดต่อจะถูกสร้างขึ้น และรักษาการแลกเปลี่ยน เช่น การส่งข้อความระหว่างโปรแกรมประยุกต์ของแต่ละด้าน TCP รับผิดชอบสำหรับในการจัดแบ่งข้อความเป็นชุดข้อมูล และประกอบชุดข้อมูลให้เป็นข้อความเหมือนเดิม เมื่อไปถึงปลายทาง DOS แบบจำลอง OSI (Open Systems Interconnection Communication model) TCP อยู่ในเลเยอร์ที่ 4 คือ เลเยอร์การส่ง (Transport Layer)


Tool Command Language
Tcl (Tool command Language) เป็นภาษาตัวแปลสคริปต์ พัฒนาโดย Dr. John Ousterhout ที่ University of California, Barkeley ในปัจจุบันการพัฒนาและบำรุงรักษาด้วย Scripts ซึ่ง Tcl เปรียบเทียบได้กับ

Netscape, Java Script
Microsoft, Visual Basic
UNIX-derived, Practical Extraction and Reporting Language
IBM, Restructured Extended Executor
โดยทั่วไป ภาษาสคริปต์ เขียนได้ง่ายและเร็วกว่าภาษาโครงสร้าง และภาษาคอมไพล์ เช่น C และ C++ ภาษาสคริปต์บางครั้งพิจารณาเป็น “กาว” ของภาษาที่ดี สำหรับผูกโปรแกรมคอมไพล์หลายโปรแกรมร่วมกัน หรือโปรแกรมใช้งานเดี่ยว จะยินยอมให้สร้างได้ง่ายแต่ความสามารถสูงมาก

Tcl มีโปรแกรมในกลุ่ม คือ Toolkit ใช้ช่วยสร้างการอินเตอร์เฟซแบบ graphical user interface ด้วย Tcl


T-Carrier System
T-Carrier System ได้รับการแนะนำโดย Bell System ในสหรัฐ เมื่อทศวรรษ 1960 ซึ่งเป็นระบบแรกที่ประสบความสำเร็จในการสนับสนุนการส่งผ่านเสียงแบบดิจิตอล อัตราการส่งเริ่มแรก (1.544 Mbps) ในสาย T-1 มีการใช้โดยทั่วไปในปัจจุบันโดยผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในการติดต่อกับ อินเตอร์เน็ต ระดับอื่น คือ สาย T-3 มีอัตราการส่ง 44.736 Mbps ซึ่งมีการใช้ โดยทั่วไปจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต การติดตั้งอีกแบบที่มีใช้กันคือ fractional T-1 ซึ่งเป็นการเช่าบางช่องสัญญาณจาก 24 ช่องสัญญาณในสาย T-1

T-Carrier System เป็นระบบดิจิตอล ที่ใช้ pulse code modulation และ Time – Division Multiplex ระบบนี้ใช้ 4 สาย และให้ความสามารถแบบ duplex (2 สายสำหรับการรับและ 2 สาย สำหรับการส่งในเวลาเดียวกัน) การส่งข้อมูลในสาย T-1 ประกอบด้วย 24 ช่องสัญญาณ ขนาด 64 Kbps แบบ multiplex (การใช้มาตรฐาน 64 Kbps ต่อช่องสัญญาณอยู่บนพื้นฐานของขนาด bandwidth สำหรับการสนทนาทางโทรพิมพ์) ส่วนระบบ 4 สาย มีจุดเริ่มต้นจากสายแบบ twisted pair แต่ในปัจจุบันรวมถึงสายแบบ Coaxial, Optical fiber, digital microwave และตัวกลางชนิดอื่น ในระบบ T-1 สัญญาณเสียงมีการสุ่ม 8000 ครั้งต่อวินาที แต่ละครั้งจะแปลงเป็นสัญญาดิจิตอล ขนาด 8 บิต ใน 24 ช่องสัญญาณสามารถแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล ได้ 192 bit frame ในการส่ง 8000 ครั้งต่อวินาที frame แต่ละชุดแยกจากกันด้วยบิตเดี่ยว ทำให้ทั้งหมด 193 bit block เมื่อนำ 192 bit frame คูณด้วย 8000 บวกอีก 8000 บิต ทำให้อัตราข้อมูลเป็น 1.544 Mbps


Tag
Tag เป็นคำทั่วไปสำหรับภาษาแบบ element descriptor กลุ่มของ Tag สำหรับเอกสาร หรือหน่วย ของสารสนเทศในบางครั้ง อ้างถึง markup คำสั่งนี้ในยุคก่อนการใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อผู้เขียนและผู้ตรวจทาน ทำเครื่องหมายบนเอกสารด้วยสัญลักษณ์ ตัวอย่างเช่น การสร้างเว็บเพจด้วยภาษา Hypertext Markup Language (HTML)


T1
T1 Carrier เป็นสายส่งแบบดิจิตอลที่ใช้กันทั่วไปในสหรัฐ แคนนาดา และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการส่ง 24 สัญญาณแบบ pulse code modulation โดยใช้ Time-Division Multiplexing ที่อัตราการส่งรวม 1.544 megabit ต่อวินาที สาย T1 ใช้สายทองแดงและพื้นที่ภายในเมืองหรือระหว่างเมืองขนาดใหญ่ T1 Outstate System ได้รับการพัฒนาให้ใช้ระหว่างเมืองเล็ก ๆ


Syntax
Syntax ในไวยากรณ์, โครงสร้าง หรือลำดับของส่วนประกอบ ในประโยคของภาษา Syntax การประยุกต์กับภาษาคอมพิวเตอร์ เหมือนกับภาษาธรรมชาติ ในภาษาคอมพิวเตอร์ ไวยากรณ์สามารถมีความแข็งตัว เช่น ในภาษา assembler หรือความแข็งตัวน้อย ในภาษาที่ใช้ “keyword” พารามิเตอร์ซึ่งสามารถระบุในลำดับต่าง ๆ


Synchronous Optical Network (SONET)
SONET เป็นมาตรฐานสหรัฐ สำหรับการส่งข้อมูลแบบ synchronous กับตัวกลาง optical มาตรฐานสากล เทียบเท่ากับ SONET คือ Synchronous Digital Hierarchy (SDH) โดยมีการทำให้มั่นใจว่ามาตรฐาน สำหรับเครือข่ายดิจิตอลสามารถติดต่อภายในแบบสากล และระบบการส่งผ่านแบบดั้งเดิม สามารถได้รับประโยชน์จากตัวกลาง optical

SONET ให้มาตรฐานสำหรับจำนวนของ line rate ได้ถึงอัตราสูงสุด 9.953 gigabit ต่อวินาที (Gbps) และมีความเป็นไปได้ในเพิ่ม line rate เป็น 20 Gbps SONET ได้รับการพิจารณาเป็นพื้นฐานของเลเยอร์ระดับ physical layor ของ broadband ISDN (Broad bard Integrated Service Digital Network)

asynchronous transfer mode (ATM) ทำงานบนชั้นบนสุดของและชั้นบนสุดของเทคโนโลยีอื่น SONET กำหนดพื้นฐานของ 51.84 Mbps และกลุ่มของอัตราพื้นฐานหลายอัตรา รู้จักในชื่อ “Optical Carrier levels (OCx)”

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SONET ที่ : Nortel



switch
ในโทรคมนาคม, switch เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้เลือกเส้นทาง หรือวงจรสำหรับการส่งข้อมูล หรือปลายทางต่อไป switch (สวิท์ช) อาจจะรวมการทำงานของ router, อุปกรณ์หรือโปรแกรม ที่สามารถค้นหาเส้นทาง หรือกำหนดจุดบนเครือข่ายที่ติดต่อกัน เพื่อให้ส่งข้อมูลไป โดยทั่วไป สวิท์ช เป็นกลไกที่ง่าย และเร็วกว่า router ซึ่งต้องการความรู้เกี่ยวกับเครือ และวิธีการหาเส้นทาง

ความสัมพันธ์แบบจำลอง Open System Interconnecting, สวิท์ช เกี่ยวข้องกับ Layer หรือ Data-Link Layer อย่างไรก็ตาม สวิท์ชรุ่นใหม่ สามารถทำงานต้นเส้นทาง ของเลเยอร์ หรือ Network Layer โดยบางครั้ง switch layer 3 ได้รับการเรียกว่า IP switches

บนเครือข่ายขนาดใหญ่ การเดินทางจากสวิท์ชหนึ่งไปยังตัวอื่นในเครือข่ายเรียกว่า hop เวลาที่สวิท์ชใช้ ในการชี้ถึงการส่งหน่วยข้อมูลเรียกว่า latency ราคาที่จ่ายให้กับความยืดหยุ่น ของสวิท์ชที่ให้กับเครือข่าย คือ latency สวิท์ชที่พบใน backbone และ gateway ของเครือข่าย ที่เครือข่ายหนึ่งใช้ต่อเชื่อมกับเครือข่ายอื่น และระดับเครือข่ายย่อย สำหรับการส่งต่อใกล้กับปลายทาง หรือจุดเริ่มต้น อันแรกเรียกว่า core switches และอันดับหลังเรียกว่า desktop switches

ในเครือข่ายพื้นฐาน สวิท์ช ไม่ต้องการข่าวสารในการส่ง หรือรับภายเครือข่าย ตัวอย่างเช่น เครือข่ายแบบ LAN อาจจะจัดโครงสร้างด้วย todenring หรือการจัดเรียงบัส ในแต่ละปลายทางตรวจแต่ข่าวสาร และอ่านข่าวสารด้วยตำแหน่ง

circuit switching เวอร์ชัน packet switching

เส้นทางของเครือข่ายจะต้องใช้เฉพาะสำหรับภายในกลุ่ม 2 กลุ่มหรือมากกว่า และสวิท์ชสำหรับใช้กับกลุ่มอื่น ประเภทของ switching ที่รู้จักในชื่อ circuit switching และเป็นตัวแทนและเชื่อมต่อเส้นทางอย่างต่อเนื่อง สำหรับภายในกลุ่ม

ปัจจุบัน การส่งข้อมูลส่วนใหญ่ใช้สัญญาณดิจิตอลผ่านเครือข่ายที่ใช้ packet switching การใช้ packet switching ผู้ใช้เครือข่ายทั้งหมดสามารถใช้เส้นทางร่วมกันในเวลาเดียวกัน และเส้นทางเฉพาะ ของหน่วยข้อมูลที่เดินทาง สามารถแปรผันตามเงื่อนไขที่เปลี่ยนใน packet switching การส่ง message จะได้รับการแบ่งเป็น แพ็คเกต ซึ่งมีหน่วยเป็นไบต์ address ของเครือข่ายสำหรับผู้ส่ง และสำหรับปลายทาง ได้รับการเพิ่มอยู่ในแพ็คเกต แต่ละจุดของเครือข่ายจะดูที่แพ็คเกต เพื่อส่งต่อแพ็คเกตใน message เดียวกันอาจจะมีเส้นทางที่ต่างกัน และอาจจะไม่ไปถึงในลำดับเดียวกับ การส่งที่ปลายทาง แพ็คเกตใน message จะได้รับการรวมและประกอบใหญ่เป็น message เหมือนเดิม



strongly-typed
ภาษาโปรแกรม strongly-typed เป็นหนึ่งในแต่ละประเภทของข้อมูล ( เช่น จำนวนเต็ม, ตัวอักษร, เลขฐานสิบหก เป็นต้น) ที่มีการกำหนดไว้ก่อนเป็นส่วนหนึ่งของภาษาโปรแกรม และการกำหนดตัวแปร หรือค่าคงที่ทั้งหมด สำหรับโปรแกรมต้องมีการกำหนดประเภทข้อมูล การปฏิบัติการจะยินยอมเฉพาะ ประเภทข้อมูลที่มีอยู่ ภาษาประเภท compiler บังคับประเภทข้อมูล และการใช้ที่ยอมรับ ข้อได้เปรียบของ strong data type เป็นการบังคับให้กลุ่มของกฎมีความเคร่งครัด และประกันผลลัพธ์ที่แน่นอน ข้อเสียเปรียบ คือ ทำให้ไม่สามารถคิดค้นประเภทข้อมูลไม่ได้คาดไว้ โดยผู้พัฒนาภาษาโปรแกรม และจำกัดความสร้างสรรค์ ให้ใช้เฉพาะประเภทข้อมูลที่มีให้


streaming sound
streaming sound เป็นเสียงที่เล่นเมื่อมาถึง อีกทางเลือกหนึ่ง คือ sound recording (เช่นไฟล์ WAV) ซึ่งจะไม่เริ่มต้นจนกระทั่งไฟล์มาถึงทั้งหมด การสนับสนุน streaming sound ต้องการตัวเล่นแบบ plug-in หรือมากับ browser ผู้นำของผู้ให้ streaming sound ได้แก่ Progressive Networks’ RealAudio และ Macromedia Shockwave for Director (ซึ่งรวมถึงโปรแกรม animation player)


stack
1. TCP/IP ได้กับการอ้างถึงในฐานะ “stack” เป็นการอ้างถึง เลเยอร์ผ่านข้อมูลทั้งหมดที่ปลายของ client และ server ของการแลกเปลี่ยนข้อมูล ภาพที่ชัดเจนของเลเยอร์คล้ายกับ TCP/IP ที่ได้ให้คำอธิบายใน OSI ซึ่งเป็นแบบจำลองอ้างอิงของชั้นในการสื่อสารของเครือข่าย

“stack” บางครั้ง รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวก ที่สนับสนุน เลเยอร์ของ TCP/IP ใน Netscape Handbook กล่าวว่า “เป็นสร้างการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตเสร็จเรียบร้อย คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลต้องการ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Netscape plus TCP/IP stack ประกอบด้วย ซอฟต์แวร์ TCP/IP stack (Winsock dynamic tink library) และ ซอฟต์แวร์ driver ของฮาร์ดแวร์ (packet driver) TCP/IP stack มีให้ใน windows รวมถึง shareware stacks”
2. ในโปรแกรม stack เป็นพื้นที่ของข้อมูลหรือ buffer ใช้ในการเก็บคำขอที่ต้องการดูแล IBM Dictionary of computer กล่าว่า stack มักเป็น push-down list หมายความว่า เมื่อคำขอใหม่เข้ามา จะมีผลักคำขอเก่าออกไปในอีกทางหนึ่งของการมอง push-down list หรือ stack คือ เป็นโปรแกรมที่ดึงส่วนประกอบ ต่อไปมาดูแล จากด้านบนของ stack (แตกต่างกับการจัดเรียงแบบ “FIFO” หรือ first-in first-out”)

คำศัพท์คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ (Computer)
หมายถึง เครื่องทรมานชนิดหนึ่ง คอมพิวเตอร์เครื่องแรกประดิษฐ์ขึ้นโดย
โรเจอร์ บิลลิงส์ลีย์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทรมานจอมเผด็จการฮิตเลอร์
โรเจอร์เสแสร้งเป็นพันธมิตรเยอรมันและมอบสิ่งประดิษฐ์ของเขาเป็นของขวัญให้
จอมเผด็จการ แผนได้ผลในวันที่8 เมษายน1945 ฮิตเลอร์
อารมณ์เสียอย่างหนักเมื่อเจอไวรัสกินฐานข้อมูลเสียหายยับเยินจนทำให้เยอรมันแพ้
หมดรูป ฮิตเลอร์ตัดสินใจฆ่าตัวตายหลังสงครามโลก
โรเจอร์หันมาทำงานให้บริษัทไอบีเอ็ม

ฮารด์แวร์ (Hardware)
คืออุปกรณ์ทุกส่วนของคอมพิวเตอร์ที่สร้างมาให้ยากต่อการใช้ (Hard)
กระด้าง (Hard) ปราศจากน้ำใจ (Hard) อึด ทนต่อความรุนแรง (Hard)
จึงสามารถทุบตีตบเตะได้ตามใจปรารถนา

หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
คืออุปกรณ์ทำหน้าที่บวก ลบ คูณ หาร หรือ คิดเมื่อได้รับคำสั่ง
ความเร็วในการคิดขึ้นกับชิพ หรือสัตว์ที่ใช้ขับเคลื่อน รุ่น 386
เคลื่อนด้วยหอยทาก รุ่น 486เคลื่อนด้วยหนอน และรุ่น 586 ใช้ตัวตุ่น

เครื่องพิมพ์ (Printer)
หมายถึงอุปกรณ์ที่ทำให้หัวร่อมิได้ร่ำไห้มิออก บางคนเรียก
ตัวกินกระดาษโครงสร้างสำคัญของพรินเตอร์มีเพียง 3 ส่วน คือ หนึ่ง ฝาครอบ
สอง ช่องป้อนกระดาษที่ติดขัดตลอดปี
และสายไฟกะพริบสีแดงบอกว่าเครื่องพิมพ์ขัดข้องตลอดปีเช่นกัน
นิสัยเฉพาะของพรินเตอร์คือ ไม่ชอบพิมพ์สิ่งที่สั่งให้พิมพ์
ชอบพิมพ์สิ่งที่เราไม่ได้สั่งให้พิมพ์ และดื้อด้าน
ไม่ยอมหยุดเมื่อเราสั่งให้หยุด

หน่วยความจำหรือเมโมรี (Memory)
ฟังจากชื่อ มันคือส่วนที่ฉลาดที่สุด แต่จากการกระทำมันโง่ที่สุด
อะไรไม่ได้สักอย่างถนัดแต่โต้เถียงและชอบโยนความผิดให้อุปกรณ์ตัวอื่นที่ไม่มี
ปากเสียง เมโมรีเป็นอาหารชั้นดีของไวรัส

นักเขียนโปรแกรม (Programmer)
สมัยเรียนหนังสือ เขาคือเพื่อนของเรา คนที่ชอบเล่นเกมในห้องเรียน
ใส่แว่นตาหนาเตอะ เกรด เฉลี่ยใกล้ๆสี่ ขี้งก หวงวิชา ไม่คบคน
ไม่เล่นกีฬา เข้ากับเพื่อนไม่ได้
เลือกเรียนคอมพิวเตอร์เพราะไม่อยากคบมนุษย์ ดังนั้นเมื่อเขียนโปรแกรม
จึงเป็นผลให้โปรแกรมกับผู้ใช้งานติดต่อกันไม่รู้เรื่อง

คู่มือการใช้เครื่อง (Reference Manual)
วัตถุหนา เหมาะที่จะใช้รองใต้จอมอนิเตอร์
เพื่อยกจอให้อยู่ระดับสายตา
ภาษาที่ใช้เขียนคู่มือ นิยมใช้ภาษาบาลีและขอม
จึงต้องศึกษาทางธรรมมากๆจึงจะไม่คลุ้มคลั่งเวลาอ่าน

ช่องสัญญาณเข้าออก (Input/Output)
หมายถึงช่องทางติดต่อระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์ ช่องอินพุท คือ
ช่องทางข้อมูลจากตัวเราไหลผ่านคีย์บอร์ดเข้าสู่คอมพิวเตอร์
นำข้อมูลที่พิมพ์อย่างบรรจง เว้นวรรค จัดรูปแบบ
ตรวจทาน ทุ่มเทเวลาและกำลังงานเพื่อให้ข้อมูลเข้าสมบูรณ์พร้อม
ส่วนช่องเอ๊าท์พุท คือ ช่องถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ไปยังพรินเตอร์
ข้อมูลที่ออกมามักเป็นขยะ ตัวอักษรประหลาด
ที่จะทำให้คุณกระอักเลือดด้วยความแค้น

ความช่วยเหลือ (Help)
ในทุกโปรแกรมจะมีช่องความช่วยเหลือกรณีที่คุณพบปัญหาในการทำงาน ช่อง
Help จะช่วยทำปัญหา เล็กๆ ที่คุณสงสัยกลายเป็นปัญหาใหญ่ ช่วยให้คุณสับสน
ขาดความมั่นใจหรืออาจทำให้เครื่องแฮงก์เพราะใช้ความจำเกินพิกัด

ผู้ใช้ (User)
เป็นคำเรียกรวมๆ หมายถึงคนที่ถูกทรมาน
มักมีอาการจ้องมองหน้าจออย่างไร้จุดหมาย แบ่งได้เป็น
3 กลุ่ม คือ เริ่มต้น ปานกลางและเชี่ยวชาญ
ระดับเริ่มต้น คือคนที่นั่งนิ่งๆหน้าจอ ไม่กล้ากดปุ่มใดๆเลย
เพราะกลัวเครื่องจะพัง
ระดับปานกลาง คือคนที่กดปุ่มไปเรื่อยจนเครื่องพัง
ระดับผู้เชี่ยวชาญ คือคนที่ทำเครื่องของเพื่อนพังบ่อยๆ
แต่ของตัวเองไม่เป็นไร

โปรแกรมรุ่นอัลฟา (Alpha)
เป็นโปรแกรมทดสอบ ที่ผู้ผลิตลองวางตลาดเพื่อฟังข้อคิดเห็นจากผู้ใช้
อัลฟาเป็นภาษาละตินแปลว่า ไม่เคยทำงานได้
โปรแกรมรุ่นเบต้า (Bata) เป็นโปรแกรมทดสอบที่ออกหลังรุ่นอัลฟา
โดยผู้ผลิตนำข้อคิดเห็นจากผู้ใช้รุ่นอัลฟาไปปรับปรุงใหม่
เบต้าเป็นภาษาละตินแปลว่า ก็ยังทำงานไม่ได้เหมือนเดิม

เป็นมิตรกับผู้ใช้ (User Friendly)
ท่องไว้ในใจเสมอว่าไม่เคยมีมิตรแท้และศัตรูถาวร
ในวงการคอมพิวเตอร์และวงการเมือง


E-mail Scams
พวกเราต่างทราบกันดีว่า ทุกวันนี้มีอีเมล์ต้มตุ๋น (E-mail Scams) ที่หลอกลวงด้วยเล่ห์อุบายต่างๆ แพร่กระจายอยู่บนอินเทอร์เน็ตเต็มไปหมด แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า อีเมล์ฉบับไหนหลอกลวง และอีเมล์ฉบับไหนจริง สำหรับเทคนิคง่ายๆ ที่ได้เคยแนะนำกันอยู่บ่อยๆ ก่อนหน้านี้ก็คือ คุณไม่ควรเปิดไฟล์แนบใดๆ จากผู้ส่งที่ไม่รู้จัก ซึ่งคำแนะนำที่ว่านี้ยังคงใช้ได้จริงในปัจจุบัน แต่หากอีเมล์ที่คุณได้รับเกิดมีข้อความที่กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ตลอดจนความโลภที่ซ่อนอยู่ภายในจิตใต้สำนึกของปถุชนอย่างเราๆ ท่านๆ ล่ะ คุณคิดว่าจะทำอย่างไรกับอีเมล์ฉบับนั้น?
ยกตัวอย่างเช่น อีเมล์เล่ห์อุบาย (E-mail Scams) ฉบับหนึ่งที่กำลังแพร่กระจายรวดเร็วมากก็คือ Nigerian หรือ 419 อีเมล์เหล่านี้จะล่อลวงผู้รับโดยบอกคุณว่า พวกเขามีความจำเป็นต้องโอนเงินจำนวนมากผ่านเข้าไปในบัญชีธนาคารของคุณ บางฉบับบอกกับผู้รับว่า เงินดังกล่าวมาจากสมาชิกครอบครัวที่เสียชีวิตไปแล้ว เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่า มันเป็นเรื่องโกหกทั้งเพ และเสียเวลาที่จะเอาตัวเข้าไปยุ่งกับเรื่องนี้ แต่เชื่อไหมครับว่า มีผู้รับหลายรายทีเดียวติดตามด้วยความสนใจ แถมยังส่งหมายเลขบัญชีให้ตามที่อีเมล์เหล่านี้ร้องขออีกต่างหาก

การตอบอีเมล์พวกนี้ไม่ได้สร้างความร่ำรวยให้กับคุณแม้แต่นิดเดียว สิ่งที่คุณควรทำกับอีเมล์พวกนี้มีเพียงอย่างเดียวนั่นคือ “ลบพวกมันออกไปซะ” ซึ่งถ้าคุณเมล์ตอบกลับไป เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ คุณจะถูกถามบัญชีธนาคาร และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ โดยนักต้มตุ๋นจะพยายามอย่างดีที่สุด เพื่อโน้มน้าวให้คุณเชื่อว่า พวกเขาเป็นตัวจริง (รวยจริง) แต่แท้จริงแล้วมันเป็นเรื่องโกหกทั้งเพ ผู้ใช้หลายรายที่ติดกับหลงเชื่อตอบเมล์กลับไป ก็จะประสบกับปัญหาต่างๆ ตามมาอีกมากมาย เนื่องจากนักต้มตุ๋นเหล่านี้จะนำข้อมูลของคุณไปใช้ในทางมิชอบ
พึงระลึกว่า แม้อีเมล์ที่ได้รับจะดูเป็นทางการก็ตาม แต่มันอาจจะไม่ใช่ของจริงก็ได้ อย่าใส่ใจกับอีเมล์พวกนี้ หรือที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ ลบพวกมันออกไปจากคอมพิวเตอร์ของคุณอย่างรวดเร็ว ย้ำอีกครั้งนะครับว่า ไม่มีของฟรีในโลกเบี้ยวๆ ใบนี้ แน่นอน


Blue Screen of Death
เคยไหมครับที่อยู่ดีๆ คอมพิวเตอร์ของคุณก็เปลี่ยนทั้งหน้าจอเป็นสีน้ำเงินไปซะเฉยๆ ซึ่งมันอาจเกิดขึ้นได้กับพวกเราทุกคนไม่ว่าเวลาใดก็ตาม ข้อเท็จจริงที่ควรทราบก็คือ อาการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นหลายๆ ครั้งติดต่อกันก็ได้ ผมเองก็เคยประสบปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องน่าหงุดหงิดมากทีเดียว

แล้ว สิ่งที่เรียกว่า หน้าจอสีน้ำเงิน (Blue Screen) ที่ผมพูดถึงนั้นหมายถึงอะไรล่ะ? คำว่า “Blue Screen” เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกแทน “หน้าจอแสดงข้อผิดพลาด” ที่มักจะอ้างอิงกับอาการผิดปกติของการทำงานที่เกิดขึ้นบนระบบปฎิบัติการ Windows นอกจากชื่อนี้แล้ว บางทีมันยังถูกเรียกว่า “stop error” (ข้อผิดพลาดที่ทำให้ระบบต้องหยุดทำงาน) ปกติแล้วข้อความต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นบนหน้าจอจะเป็นการบอกให้ผู้ใช้ทราบว่า คอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถแก้ไขปัญหาอันเนื่องจากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นใน ระบบนั่นเอง โดยหน้าจอแสดงข้อผิดพลาดในลักษณะนี้จะมีอยู่ใน Windows ทุกเวอร์ชันตั้งแต่ Windows 3.1 แล้ว
เมื่อใดก็ตามที่ระบบปฏิบัติการพบว่า มันมีขั้นตอนการทำงานที่ผิดปกติ และระบบไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ หน้าจอสีน้ำเงินก็จะป๊อปอัพขึ้นมา ซึ่งวิธีที่ปลอดภัยสำหรับการออกจากหน้าจอน้ำเงินก็คือ รีสตาร์ทคอมพิวเตอร์ของคุณ ปัญหาของการเกิดหน้าจอน้ำเงินก็คือ ข้อมูลบางส่วนอาจสูญหายไปในระหว่างที่เกิดกระบวนการนี้ ผู้ใช้จะไม่มีโอกาสได้จัดเก็บงานแต่อย่างใด เพราะฉะนั้น การปรากฏตัวของหน้าจอสีน้ำเงินจึงไม่ได้แค่ทำให้ระบบต้องหยุดทำงานเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดความหายนะอื่นๆ อย่างเช่น การสูญเสียข้อมูลที่กำลังจัดทำอยู่ในขณะนั้นด้วยนั่นเอง แล้วอย่างนี้จะไม่เรียกมันว่า “หน้าจอน้ำเงินแห่งมรณะ” ( Blue Screen of Death) ได้อย่างไร

ปกติหน้าจอน้ำเงินที่ปรากฏใน Windows แต่ละเวอร์ชันจะแสดงข้อความที่แตกต่างกันไป ซึ่งรวมถึงการอ้างอิงข้อผิดพลาดต่างๆ ด้วย แต่โดยพื้นฐานของความผิดพลาดที่นำไปสู่ Blue Screen of Death มักจะมีสาเหตุมาจากปัญหาการติดตั้งฮาร์ดแวร์ใหม่ ซอฟต์แวร์ใหม่ ไวรัส หรือมัลแวร์ ตลอดจนอาจเกิดจากฮาร์ดแวร์เก่า หรือฮาร์ดแวร์ที่มีปัญหา ซึ่งสาเหตุของปัญหานั้นมีมากมาย โดยขึ้นอยู่กับชนิดของคอมพิวเตอร์ และแอพพลิเคชันที่ใช้ในเครื่องของคุณ สำหรับผู้ที่ต้องเผชิญหน้ากับหน้าจอสีน้ำเงิน ต้องถือว่าเป็นเรื่องโชคร้ายจริงๆ แต่อย่างน้อยที่สุด คุณสามารถออกจากมันได้ด้วยการรีบู๊ตเครื่องอย่างรวดเร็ว ขอให้ทุกท่านโชคดี


NIC Cards
เชื่อว่า เพื่อนๆ คงจะเคยได้ยิน หรือพบเห็นคำว่า NIC (ออกเสียงว่า “นิค”) ตามสื่อไอทีมาบ้างนะครับ สำหรับมือใหม่อาจจะสงสัยว่า คำนี้หมายถึงอะไรกันแน่ ความจริง NIC ย่อมาจาก Network Interface Card หรือ “แผงวงจรสำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย” นั่นเอง ดังนั้น พื้นฐานการทำงานของแผงวงจร หรือ NIC Cards ก็คือ การเชื่อมต่อในระดับฮาร์ดแวร์ระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณกับสายเคเบิลของเครือ ข่ายคอมพิวเตอร์
NIC Cards มักจะมาพร้อมกับคำว่า การเชื่อมต่อแบบอีเธอร์เน็ต (Ethernet connection) ที่มีขนาดต่างๆ กันได้แก่ 10, 100 และ 1,000 Base-T (คำว่า Base-T เป็นหนึ่งในหลายรูปแบบของการเชื่อมต่อ โดยสำหรับ Base-T จะใช้สายคู่ตีเกลียว ทำให้สายมีความอ่อนตัวยืดหยุ่นใช้งานง่าย) ตัวอย่างเช่น 100 Base-T Ethernet NIC Cards จะหมายถึง แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ตที่สามารถถ่ายโอนข้อมูลได้ที่ความ เร็ว 100 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที) เป็นต้น

สำหรับแผงวงจร NIC จะมีให้เลือกทั้งชนิดที่มีบัสเป็นแบบ ISA (Industry Standard Architecture) และ PCI (Peripheral Component Interconnect) และจะมีผู้ผลิตเพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้น กล่าวโดยสรุปก็คือ ถ้าคุณต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใดๆ คุณต้องมีแผงวงจรนิค (NIC Card) จึงจะทำได้นั่นเอง


Hits
เชื่อว่า ทุกท่านคงจะเคยได้ยินคำว่า “ฮิต” (hit) กันมาบ้างอย่างแน่นอน และไม่เพียงเท่านั้น หลายๆ ท่านน่าจะเคยใช้คำนี้ในความหมายที่อาจจะไม่ถูกต้องมาแล้วด้วย โดยเฉพาะความหมายของคำว่า “ฮิต” ที่แท้จริงในโลกของอินเทอร์เน็ต
คำว่า ฮิต (Hti) ได้ถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่เป็นการใช้ความหมายที่ผิดไปจากแนวคิดที่ซ่อนอยู่ในคำศัพท์คำนี้ เนื่องจากคนส่วนใหญ่คิดว่า ฮิต หมายถึง จำนวนครั้งของการเยี่ยมชมที่เว็บไซต์หนึ่งๆ ได้รับ โดยเข้าใจว่า ทุกครั้งที่ใครก็ตามเข้าไปยังเว็บไซต์แห่งนั้น นั่นหมายความว่า เว็บไซต์ได้เพิ่มอีกหนึ่งฮิต (เข้า 10 ครั้งก็ ได้ 10 ฮิต) ซึ่งความหมายที่แท้จริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ จริงอยู่ที่คำว่า ฮิต จะมีความหมายเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ แต่มันไม่ได้มีความหมายอย่างที่เข้าใจกัน
ความหมายของ “ฮิต” ที่แท้จริง หมายถึง จำนวนครั้งที่มีการร้องขอข้อมูลไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเข้าไปยังเว็บไซต์แห่งหนึ่ง ซึ่งในหน้าเว็บ หรือโฮมเพจที่เข้าไปมีภาพอยู่ 7 ภาพ นั่นหมายความว่า บราวเซอร์จะต้องร้องขอไปยังเซิร์ฟเวอร์ให้ส่งภาพทั้ง 7 และอีก 1 ไฟล์ HTML ดังนั้น การร้องขอทั้งหมดที่เกิดขึ้นจึงรวมกันทั้งสิ้นได้ 8 ฮิต (7 ไฟล์ภาพ + 1 ไฟล์ HTML) หรือข้อมูลของจำนวนฮิตที่บันทึกเข้าไปในระบบอันเกิดจากผู้ใช้ท่านหนึ่งโหลด หน้าเว็บนี้ไปก็คือ 8 Hits นั่นเอง

นอกจากคำว่า “ฮิต” จะมีความหมายดังกล่าวแล้ว คำนี้ยังถูกใช้ในหน้าผลลัพธ์ของ Search Engine อีกด้วย เมื่อคุณค้นหาข้อมูลที่ต้องการใน Google (หรือเสิร์ชเอ็นจิ้นตัวอื่นๆ ที่คุณชื่นชอบ) เสิร์ชเอ็นจิ้นก็จะแสดงหน้าผลลัพธ์ขึ้นมา ซึ่งแต่ละลิงค์ในหน้าผลลัพธ์ที่ค้นพบคือ ฮิต ที่เกิดขึ้นนั่นเอง ดังนั้น ถ้าคำที่คุณค้นหา ในหน้าผลลัพธ์แจ้งว่า พบ 500 หน้าเว็บที่ตรงกับคีย์เวิร์ดของคุณ นั่นหมายความว่า ผลลัพธ์เสิร์ชที่ได้กลับมามี 500 Hits นั่นเอง
คราวนี้ก็คงไม่สับสนกับการใช้ศัพท์คำนี้อีกต่อไปแล้วนะครับ



LSASS.EXE
เวลาเปิดทาสก์แมแนเจอร์ (task manager กดปุ่ม Ctrl+Alt+Del) คุณอาจจะเคยสังเกตเห็นแอพพลิเคชันตัวหนึ่งอยู่เป็นประจำชื่อว่า LSASS.EXE ดูชื่อก็ไม่คุ้นเลย ผู้ใช้บางคนก็ซุกชนไปปิดมัน เพราะคิดว่า เป็นพวกไวรัส หรือเปล่า ปรากฎว่า ระบบก็ไม่ยอมให้ปิดอีกต่างหาก

ความจริง lsass.exe เป็นไฟล์แอพพลิเคชันที่มีความสำคัญมากสำหรับระบบปฏิบัติการ Windows โดยชื่อ LSASS จะย่อมาจาก Local Security Authority Subsystem Service ซึ่งมีหน้าที่หลักคือ ช่วยจัดการระบบรักษาความปลอดภัย และล็อกอินของยูสเซอร์ โดยผู้ใช้สามารถพบไฟล์นี้ได้ในโฟลเดอร์ c:\windows\system32 หรือ c:\winnt\system32 ขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ใช้ในขณะนั้น
ผู้ใช้สงสัยว่า เขาควรจะปิดการทำงานของ lsass หรือไม่? เมื่อทราบความหมายของมันแล้วคงรู้คำตอบนะครับว่า ไม่ควรอย่างยิ่ง ที่สำคัญคุณควรจะปล่อยให้มันทำงานเพื่อช่วยให้ระบบอยู่ในความปลอดภัย ข้อเท็จจริงก็คือ ถ้าคุณพยายามปิดมัน (เช่นเดียวกับที่คุณปิดแอพฯ อื่นๆ ในทาสก์บาร์) ทาสก์แมแนเจอร์ก็จะไม่ยอมให้ทำเช่นนั้นอยู่ดี

อย่างไรก็ตาม หากคอมพิวเตอร์ที่ใช้มีอาการล่มอยู่บ่อยๆ เนื่องจากไฟล์ lsass.exe นั่นอาจหมายความว่า มีไวรัส หรือสปายแวร์ติดเข้าไปในระบบแล้วก็ได้ เนื่องจากปี 2004 พบช่องโหว่ใน lsass ทำให้วายร้ายอย่างหนอนไวรัสที่ชื่อว่า Sasser ใช้ในการโจมตีได้ ผลจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้ผู้ใช้รู้สึกกังวลเวลาที่พบเห็นไฟล์ lsass โดยมักเข้าใจผิดคิดว่า ติดไวรัสเข้าไปแล้ว แต่อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า lsass เคยถูกมองเป็นผู้ต้องหาในช่วงนั้น ซึ่งปัจจุบันปัญหาดังกล่าวได้ถูกกำจัดหมดไปแล้ว แต่นั่นหมายความว่า คุณได้อัพเดต Windows อย่างสม่ำเสมอนะครับ นอกจากนี้ แนะนำให้คุณติดตั้งซอฟต์แวร์ระบบรักษาความปลอดภัยให้กับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ด้วยครับ



Easter eggs
“Easter eggs” (อ่านว่า อีสเตอร์ เอกส์) แน่นอนว่า เราไม่ได้กำลังจะพูดถึง ไข่ที่ถูกเขียนภาพสวยงามบนเปลือกในเทศกาลอีสเตอร์ หรือไข่พลาสติกที่เต็มไปด้วยลูกกวาดอยู่ภายใน หรือว่าไข่ช็อกโกเล็ต แต่เรากำลังตามล่าไข่อีสเตอร์ในความหมายของคนไอทีต่างหาก
ความจริง “Easter eggs” หรือไข่อีสเตอร์ในที่นี้ก็คือ คุณสมบัติใดๆ ของการทำงานที่ถูกซ่อนไว้ในซอฟต์แวร์ โดยผู้พัฒนาโปรแกรม ซึ่งซอฟต์แวร์ในที่นี้จะหมายรวมถึง DVD และเกมต่างๆ ด้วย ซึ่งในมุมมองของโปรแกรมเมอร์ อีสเตอร์ เอกส์ เป็นแค่อะไรบางอย่างที่ผู้สร้างต้องการใส่เพิ่มเข้าไปในซอฟต์แวร์ แต่ก็อยากจะซ่อนมันไว้ด้วยเหตุผลส่วนตัว (สะใจเล็กๆ) อีสเตอร์ เอกส์ สามารถเป็นอะไรก็ได้ตั้งแต่ รายชื่อผู้สนับสนุนซอฟต์แวร์ที่ถูกซ่อนไว้ คำสั่งพิเศษ เรื่องตลก ข้อผิดพลาด แอนิเมชัน ข้อความลึกลับ(ที่ซ่อนไว้) และอื่นๆ อีกมากมายตามแต่จินตนาการ นอกจากนี้ มันยังอาจจะหมายถึงสัญลักษณ์อะไรบางอย่างที่ผู้พัฒนาคิดว่า มันเท่ห์ต่อการที่จะใส่เข้าไปในซอฟต์แวร์ เพียงเพื่อให้พวกเขาเข้าใจ (ไอเดียบางอย่าง) เวลาที่เรียกมันขึ้นมาดู
อย่างไรก็ตาม บางทีคุณสมบัติการทำงานบางอย่างที่คุณพบเห็นแล้วรู้สึกประหลาดใจ อาจจะไม่ใช่อีสเตอร์ เอกส์เสมอไปก็ได้ โดยอีสเตอร์ เอกส์ของแท้จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ 5 ข้อต่อไปนี้

1. “อีสเตอร์ เอกส์”ที่พบจะต้องไม่มีการบันทึกรายละเอียดอยู่ในคู่มือเอกสาร และไม่สามารถสังเกตเห็นได้โดยง่าย การเข้าถึงต้องไม่เป็นไปตามขั้นตอนปกติ โดยส่วนใหญ่โปรแกรมเมอร์จะซุกซ่อนความสนุกสนานไว้ใน “อีสเตอร์ เอกส์” เหมือนกับเวลาที่เด็กๆ เปิดไข่อีสเตอร์ แล้วพบขนมมากมายอยู่ในนั้น แน่นอนว่า สิ่งที่ซ่อนไว้นั้นก็เพื่อความสนุกของเหล่านักพัฒนานั่นเอง
2. “อีสเตอร์ เอกส์” จะต้องทำซ้ำได้ ด้วยชุดคำสั่งเดียวกัน ไม่ว่าใครก็ตามที่รู้ความลับ และปฏิบัติตามขั้นตอนจะต้องพบกับอีสเตอร์ เอกส์แน่นอน
3. “อีสเตอร์ เอกส์” จะต้องถูกใส่เข้าไปในโปรแกรมด้วยเหตุผลความชอบส่วนตัวของผู้สร้าง ซึ่งอาจหมายถึง ลายเซ็นต์เท่ห์ๆ เรื่องตลกที่ค่อนข้างจะวงในถึงจะเคยได้ยิน ของขวัญที่อยากจะอภินันท์ให้กับผู้ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ เป็นต้น แน่นอนว่า ไข่อีสเตอร์จะต้องถูกใส่เข้าไปอย่างมีวัตถุประสงค์
4. “อีสเตอร์ เอกส์” จะต้องไม่แฝงเจตนาใดๆ ที่เป็นการมุ่งร้ายต่อผู้ใช้ หน้าที่หลักของไข่อีสเตอร์คือ การสร้างความสนุกสำหรับผู้ที่ล่ามันได้สำเร็จ โดยที่มันต้องไม่สร้างความเสียหายแต่อย่างใด
5. วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดของ “อีสเตอร์ เอกส์” ก็คือ พวกมันต้องแฝงความบันเทิงให้กับผู้ที่หามันพบด้วย (อย่างน้อยก็ต้องสร้างความประหลาดใจได้บ้าง) แต่ถ้าไม่รู้สึกอะไรเลย สิ่งที่พบก็ไม่อาจจะเรียกว่าเป็นอีสเตอร์ เอกส์ได้เต็มปากเต็มคำนัก

โปรแกรมใช้งานต่างๆ ส่วนใหญ่จะมีไข่อีสเตอร์ซ่อนอยู่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าตอนนี้คุณยังใช้ Photoshop 6 ลองกดปุ่ม Ctrl + Alt แล้วคลิกเมนู Help เลือกคำสั่ง About Photoshop… คุณจะเห็นไดอะล็อกบ๊อกซ์ที่แสดงรูปไตเติลเป็นรูปแมวในชุดขนสัตว์ (Venus in furs) และหลังเปิดทิ้งไว้ประมาณ 15 วินาที รายชื่อผู้พัฒนาที่อยู่ใต้รูปจะค่อยๆ เลื่อนขึ้นมา และพอกดปุ่ม Alt มันก็จะเร่งความเร็วของรายชื่อพวกนี้ ลองไปเล่นกันดูนะครับ สำหรับผู้อ่านที่สนใจสามารถตามล่าไข่อีสเตอร์แปลกๆ ได้ที่เว็บไซต์
http://www.eeggs.com/ และ http://www.eggheaven2000.com/


Streaming
เชื่อว่า คุณผู้อ่านหลายๆ ท่านคงจะเคยพบเห็นคำว่า “สตรีมมิ่ง” (streaming) ตามสื่อต่างๆ มากมาย และผมก็เชื่ออีกเช่นกันว่า ยังคงมีผู้อ่านอีกหลายๆ ท่านที่เป็นมือใหม่ยังไม่เข้าใจความหมายของคำๆ นี้ วันนี้นายเกาเหลาขออนุญาตทำความเข้าใจเรื่องนี้กับคุณผู้อ่านทุกท่านนะครับ
โดยพื้นฐาน คำว่า “สตรีมมิ่ง” จะถูกนำไปใช้ในกรณีที่คุณสามารถเล่นไฟล์มัลติมีเดียบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยไม่ต้องมีการดาวน์โหลดจากอ ินเทอร์เน็ตจนครบไฟล์ เนื่องจากการดาวน์โหลดไฟล์มัลติมีเดียทั้งไฟล์จะใช้เวลาค่อนข้างมาก ดังนั้นการเล่นไฟล์มัลติมีเดียจากอินเทอร์เน็ตด้วยเทคนิค “สตรีมมิ่ง” จะทำให้สามารถแสดงผลข้อมูลได้ก่อนที่ไฟล์ทั้งหมดจะถูกส่งผ่านเข้ามายัง เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณนั่นเอง
สำหรับการทำให้เทคนิคสตรีมมิ่งสามารถเล่นไฟล์มัลติมีเดียได้อย่างสมบูรณ์ นั้น คอมพิวเตอร์ที่ใช้จะต้องประมวลประมวลผลได้เร็วพอด้วย เนื่องจากข้อมูลที่ถูกส่งเข้ามายังเครื่องนอกจากจะต้องได้รับการจัดเก็บเข้า ไว้ในหน่วยความจำบัฟเฟอร์แล้ว มันยังต้องมีการแปลงข้อมูลเหล่านั้น เพี่อนำไปแสดงผลในรูปของเสียง หรือวิดีโอ อีกด้วย ซึ่งถ้าขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งล่าช้า คุณก็จะสังเกตเห็นได้ทันทีว่าวิดีโอ หรือเสียงมีการกระตุก หรือแน่นิ่งเป็นพักๆ (การกำหนดขนาดของหน่วยความจำบัฟเฟอร์ ความเร็วของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต เป็นตัวแปรสำคัญในการปรับแต่งให้การเล่นสตรีมมิ่งบนเครื่องคอมพ์ของคุณราบ รื่น)

ตัวอย่างของการใช้สตรีมมิ่งที่คุณสามารถพบเห็นได้ก็เช่น เวลาที่คุณเข้าไปในเว็บไซต์ศิลปินเพลง แล้วพบว่า มีตัวอย่างเพลงใหม่ให้ลองฟัง ซึ่งพอคลิกปุ๊บภายในอึดใจก็ได้ยินเพลงนั้นเล่นออกมา นั่นแสดงว่า ทางเว็บไซต์ได้ใช้เทคนิคการทำสตรีมมิ่งเพื่อเล่นเพลงใหม่ให้คุณได้ทดลองฟัง ทันที ที่เล่นเพลงได้เร็วก็เนื่องจากมันไม่ใช่เป็นการดาวน์โหลดไฟล์เพลงใหม่ทั้ง เพลงเข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์ ของคุณนั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่ทางเว็บไซต์ก็จะให้ได้ฟังแค่บางส่วนของเพลงเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อสร้างความรู้สึกให้เกิดความต้องการฟังทั้งเพลง
นอกจากนี้ ไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ ที่เล่นใน Real Audio หรือ QuickTime ส่วนใหญ่ก็จะเป็นสตรีมมิ่ง ซึ่งข้อมูลที่สตรีมมิ่งเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่อยู่ในรูปของไฟล์ ที่นำไปใช้งานต่อได้ แต่ถ้าคุณดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่เป็นแชร์แวร์ หรือฟรีแวร์จากอินเทอร์เน็ต ไฟล์เหล่านี้ไม่ใช่ข้อมูลสตรีมมิ่ง เนื่องจากมันได้ผ่านกระบวนการดาวน์โหลดไฟล์ที่สมบูรณ์ เพื่อสามารถนำไฟล์ไปใช้งานต่อได้นั่นเอง


Ransomware
ransomware กำลังกลายเป็นภัยออนไลน์ที่น่าจับตามอง มาจากคำว่า ransom บวกกับคำว่า ware คำย่อของ software แปลตรงตัวได้ความว่าโปรแกรมเรียกค่าไถ่ แม้จะยังไม่มีการบัญญัติศัพท์นี้อย่างเป็นทางการ แต่ก็มีการใช้งานแพร่หลายในข้อเขียนของกูรูไอที กระบวนการเรียกค่าไถ่ไฟล์นั้นจะเริ่มจากโจรไฮเทคใจร้ายใช้โปรแกรมเข้ารหัส "ล็อค" ไฟล์เอกสาร ทำให้เหยื่อไม่สามารถเข้าใช้ไฟล์ได้ จากนั้นจะทิ้งข้อความเกี่ยวกับจำนวนเงินเรียกค่าไถ่พร้อมกับอีเมลแอดเดรส ติดต่อกลับ เมื่อได้รับเงินแล้วจึงจะส่งโปรแกรมปลดล็อคมาให้ทางอีเมล ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการแพร่กระจายของ ransomware จะเป็นไปในลักษณะใด เนื่องจากยังไม่พบการแพร่กระจายในวงกว้างผ่านการส่งอีเมลแนบไวรัส อาจจะเป็นไปได้ว่า โค้ดโปรแกรมเรียกค่าไถ่อาจถูกฝังไว้บนหน้าเว็บเพจ โปรแกรมจะติดตั้งตัวเองลงในเครื่องแบบอัตโนมัติ ใช้เทคนิคไม่ต้องรอให้ผู้ใช้คลิกตอบรับการดาวน์โหลดไฟล์แนบใดๆ


Ajax
Ajax หรือ Asynchronous JavaScript and XML เป็นเทคนิคในการเขียนโปรแกรมของเว็บ ที่ช่วยขจัดปัญหาของการโหลดหน้าของเว็บ เพราะทุกครั้งที่เราต้องการอัพเดตหน้าเว็บ เราต้องมีการส่งและรับข้อมูลทั้งหน้า ทั้งๆ ที่เราต้องการอัพเดตเฉพาะจุด เช่น ตัวเลขดัชนีหุ้น พยากรณ์อากาศ

Ajax ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของเว็บ แต่เป็นเทคนิคที่ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีที่เราคุ้นเคยกันดี เช่น
• HTML หรือ XHTML และ CSS สำหรับการแสดงข้อมูล
• DOM (Document Object Model) สำหรับให้ JavaScript ในการทำงานเพื่อใช้ในการแสดงไดนามิกข้อมูล
• XML และ XSLT สำหรับการส่งข้อมูลและการจัดการข้อมูล
• XMLHttpRequest เป็นออบเจ็กต์ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างไคลเอ็นต์และเซิร์ฟเวอร์
• JavaScript คือเครื่องมือที่รวมทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกัน

บราวเซอร์ที่สนับสนุน
อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า Ajax เป็นเทคนิคที่อยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่มีอะไรใหม่ จึงทำให้โปรแกรมบราวเซอร์ที่เป็นที่นิยมกันอยู่ในปัจจุบันสามารถทำงานร่วม กับ Ajax ได้

1. Apple Safari 1.2 หรือใหม่กว่า
2. Konqueror
3. Microsoft Internet Explorer 4.0 หรือใหม่กว่า
4. Mozilla Firefox 1.0 หรือใหม่กว่า
5. Netscape 7.1 หรือใหม่กว่า
6. Opera 7.6

สรุปก็คือ Ajax ไม่ใช่เทคโนโลยีล่าสุดของการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชัน แต่มันประกอบไปด้วยเทคโนโลยีที่เราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่ถูกจับมารวบอยู่ด้วยกัน Ajax ในวันนี้มีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างรวดเร็วในอนาคตอันใกล้ เพราะแม้แต่ Google ที่ได้รับการยอมรับว่ามีการพัฒนาเรื่องของเทคโนโลยีทางเว็บก้าวหน้าอย่างมาก ยังนำ Ajax มาใช้ในแอพพลิเคชันของตน เราในฐานะของนักพัฒนาชาวไทย เราคงต้องหันมาสนใจและนำ Ajax มาใช้มากขึ้น


Dynamic DNS
สำหรับ DNS หลายคนคงเคยได้ยินคำนี้กันมาบ้างแล้ว วันนี้ลองมาขยายขอบเขตของตัว DNS กัน นั้นก็คือ Dynamic DNS ว่าจะมีประโยชน์มากขนาดไหน

ขออธิบายอีกสักครั้งสำหรับระบบดีเอ็นเอส (DNS : Domain Name Server) หน้าที่ของดีเอ็นเอสคือ เก็บข้อมูลของชื่อโดเมนและไอพีแอดเดรส เช่น
http://www.company.com/ มีไอพีแอดเดรส 203.156.24.52 คอมพิวเตอร์ที่เก็บข้อมูลดีเอ็นเอสนี้เรียกว่า ดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ (DNS Server) เมื่อคอมพิวเตอร์เรียกเว็บไซต์ http://www.company.com/ เราต้องระบุชื่อเว็บไซต์ให้กับโปรแกรมประเภทบราวเซอร์ เช่น IE จากนั้นบราวเซอร์จะทำการสอบถามไปยังดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ เพื่อขอทราบหมายเลขไอพีแอดเดรสของ http://www.company.com/ จากนั้นดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์จะแจ้งหมายเลขไอพีแอดเดรสของ http://www.company.com/ ให้ทราบ เมื่อได้ไอพีแอดเดรสของ http://www.company.com/ แล้ว บราวเซอร์จะติดต่อไปยังที่อยู่หรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ของ http://www.company.com/ หากพบแล้วก็ทำการร้องขอข้อมูลจากเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้น และเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นจะส่งข้อมูลของ http://www.company.com/ กลับมาที่บราวเซอร์ เราจึงเห็นเว็บไซต์นั้นได้

สำหรับดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์นี้จะติดตั้งอยู่ที่ไอเอสพีที่เราใช้บริการอยู่ และจะทำงานเชื่อมต่อกับดีเอ็นเ อสเซิร์ฟเวอร์ทั่วโลก ส่วนเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นก็ต้องได้รับการกำหนดไอพีแอดเดรสแบบคงที่ด้วย แต่สำหรับการจัดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ไว้ที่บ้านหรือสำนักงาน ไม่สามารถกำหนดไอพีแอดเดรสแบบคงที่ได้ เพราะเป็นไอพีแอดเดรสที่ได้รับมาแบบชั่วคราว โดยไอพีแอดเดรสจะเปลี่ยนไปทุกๆ ครั้งเมื่อเชื่อมต่อกับไอเอสพี เช่น เชื่อมต่อครั้งแรกอาจจะได้หมายเลข 203.156.24.52 พอวันรุ่งขึ้นอาจจะเชื่อมต่ออีกครั้งหนึ่งซึ่งได้หมายเลข 203.145.32.96 และเปลี่ยนไปทุกครั้งที่ทำการเชื่อมต่อใหม่ (การขอไอพีแอดเดรสแบบคงที่ สามารถทำได้แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก) ดังนั้น การใช้โดเมนเนมกับไอพีแอดเดรสแบบไม่คงที่จึงไม่สามารถทำได้ จำเป็นต้องใช้ระบบไดนามิกดีเอ็นเอสเข้ามาช่วย

ระบบไดนามิกดีเอ็นเอส (Dynamic DNS) เป็นระบบที่เก็บไอพีแอดเดรสกับโดเมนเนมของคอมพิวเตอร์ที่ได้ลงทะเบียนไว้ คอมพิวเตอร์ของเราสามารถแจ้งไอพีแอดเดรสที่เปลี่ยนแปลงทุกๆ ครั้ง ให้กับดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการไดนามิกดีเอ็นเอส ผ่านทางโปรแกรมสำหรับแจ้งไอพีแอดเดรสอัตโนมัติ สามารถดาวน์โหลดได้จากผู้ให้บริการ

ดังนั้น บริการไดนามิกดีเอ็นเอสจึงช่วยให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเอดีเอสแอลที่มี ไอพีแอดเดรสแบบไม่คงที่ สามารถจัดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ของตนเองขึ้นที่บ้านหรือสำนักงานได้

โดยมีแอดเดรสเป็นโดเมนเนมแทนตัวเลข ซึ่งจะช่วยให้เรามีตัวตนในโลกของอินเทอร์เน็ต แนะนับเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการโฆษณาให้กับธุรกิจของคุณ สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างคุ้มค่าและประหยัดนั่นเอง

สำหรับผู้ให้บริการระบบไดนามิกดีเอ็นเอสก็มีอยู่หลายแห่ง แต่จะขอแนะนำบริการนี้ที่
http://www.no-ip.com/ ซึ่งมีบริการลงทะเบียนฟรี แต่จะได้โดเมนเนมแบบ yourname.no-ip.info หรืออื่นๆ ตามที่มีให้เลือกในแบบเงื่อนไขที่ฟรี


Malware
หลายคนคงเคยได้ยินคนพูดกันตามเว็บบอร์ดเกี่ยวกับ Malware ว่ามันคือไวรัสที่มาพร้อมกับแผ่นหนังบ้าง หรือว่าจะเป็นโทรจันบ้าง ตกลงมันคืออะไรกันแน่?

จริงๆแล้ว malware ซึ่งย่อมาจาก Malicious Software ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อจะทำให้ระบบมีปัญหา

โดยทั่วไปคำว่า malware จะเป็นคำเรียกรวมๆ ของไวรัส โทรจัน หนอนอินเทอร์เน็ต นั่นเอง

สำหรับการป้องกันก็ทำได้ง่ายๆ คือ ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสและหมั่นอัพเดตอยู่เสมอ ก็น่าจะปลอดภัยแล้ว


Wi-Fi
วิถีชีวิตยุคใหม่ของคนเมือง ที่ไม่ต้องการทำงานที่ไม่ยึดติดกับที่ อินเทอร์เน็ตไร้สายจะเหมาะกับคุณมากที่สุด เพราะว่าสามารถใช้งานได้ทุกอย่างไม่ว่าจะดาวน์โหลดไฟล์ หรือค้นหาข้อมูล
ก็เพียงแค่มองหาสัญลักษณ์ Wi-Fi บนอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น โน้ตบุ๊ก หรือ โทรศัพท์มือถือ หากมีสัญลักษณ์ Wi-Fi ก็สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายได้แล้ว แต่คุณก็อาจจะยังสงสัยว่า จริงๆแล้ว Wi-Fi มันคืออะไรกันแน่?

Wi-Fi หรือในชื่อเต็มๆว่า Wireless-Fidelity เป็นเทคโนโลยีสื่อสารแบบไร้สายที่ตอนนี้ได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องการเดินสายเหมือนกับเครือข่ายแลนแบบเดิมๆ

เทคโนโลยีหรือมาตรฐานของ Wi-Fi ในปัจจุบันที่ใช้กันอยู่คือ 802.11 ซึ่งมีอายุมากกว่า 7 ปีแล้ว โดยเป็นมาตรฐานที่ถูกอนุมัติให้ใช้จาก IEEE(the Institute of Electrical and Electronics Engineers) เพื่อให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้บนมาตรฐานการทำงานแบบเดียว กันนั่นเอง

ในปัจจุบัน ทั่วกรุงเทพฯ ตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟ ร้านหนังสือ ห้างสรรพสินค้า หรือแม้แต่โรงพยาบาล ฯลฯ ได้เริ่มมีบริการ Access Point สำหรับใช้งาน Wi-Fi ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทันใจ จนแทบจะพูดได้ว่า คุณสามารถมีชีวิตแบบไร้สายได้ทุกที่ทุกเวลากันเลยทีเดียว


HD DVD
HD DVD (High Definition DVD) เป็นมาตรฐานของออปติคอลดิสก์ซึ่งพัฒนาโดยโตชิบา ในรูปแบบของ ดีวีดี เจเนอเรชันใหม่ ซึ่งมีความคมชัดมากกว่า DVD ในปัจจุบัน

โดยมีขนาดของแผ่นเท่ากับแผ่น CD ธรรมดา และยิงด้วย blue laser แบบเดียวกับที่ใช้ใน Blu-ray Disc

โดยในแบบ single layer จะความจุมากถึง 15 GB และ dual layer มีความจุ 30 GB ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งอย่าง Blu-ray Disc ซึ่งจุได้ 25 GB สำหรับ single layer และ 50GB สำหรับ dual layer อาจจะได้ความจุน้อยกว่าแต่ราคาจะถูกกว่า

และทางโตชิบา มีแผนจะวางจำหน่ายเครื่องเล่น HD DVD ช่วงเดือนมีนา ที่จะถึงนี้ พร้อมกับทางค่ายหนังก็จะวางแผนจะออกวางจำหน่าย ดีวีดีแบบ Hi-Def ประมาณ 200 เรื่อง ทยอยตามออกมาในช่วงใกล้เคียงกัน

รายงานข่าวแจ้งเพิ่มเติมว่า ทาง Microsoft แถลงข่าวในงาน CES 2006 ว่าบริษัทวางแผนจะออก external add-on HD DVD drive สำหรับ Xbox 360 ภายในปี 2006


Rootkit
ประมาณเดือนที่แล้วหลายท่านอาจจะได้ยินชื่อของ Rootkit กันมาบ้างแล้ว ซึ่งก็เป็นข่าวดังพอสมควร เมื่อมีการตรวจพบว่าซีดีเพลงของค่ายหนึ่ง มีการแอบฝังโปรแกรมลงไปในแผ่นซีดีเพื่อที่จะป้องกันการก๊อปปี้แผ่น

จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ชื่อของ Rootkit นั่นโดงดังขึ้นมาทันที เพราะก่อนหน้านี้ชื่อ Rootkit จะรู้จักกันในวงการผู้ที่สนใจการแฮ็กการแคร็กระบบเท่านั้น

Rootkit คือชุดโปรแกรมที่ใช้เป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ หลังจากที่เราสามารถแอ็กเซสเข้าในระบบคอมพิวเตอร์ที่ต้องการได้แล้ว โปรแกรมพวกนี้จะพยายามหลบซ่อนทั้งโพรเซสทั้งไฟล์ ทั้งข้อมูลต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ให้หลุดรอดจากตรวจจับของเจ้าของระบบ เพื่อที่จะทำให้ตัวเองนั้นยังสามารถแอบอยู่ในระบบได้ต่อไป

สมัยเริ่มแรกคำว่า "rootkit" หรือ "root kit" นั้นหมายถึงพวกเครื่องมือในยูนิกซ์ที่ถูก Recompiled แล้วซึ่งใช้ในการตรวจจับการถูกรุกรานเช่น "ps", "netstat", "w" และ "passwd" เพื่อที่จะปกปิดร่องรอยของผู้รุกราน ทำให้ผู้รุกรานนั้นยังคงสถานะของความเป็น "root" อยู่ได้โดยที่ Administrator ของระบบยังไม่รู้ตัว

การทำงานของ Rootkit โดยทั่วไปแล้วคือ การปกปิด User Login ที่ใช้ในการเข้าสู่ระบบ, โพรเซส, ไฟล์, Log, โปรแกรมที่ใช้ในการดักจับข้อมูล และการต่อเชื่อมกับระบบเน็ตเวิร์ก ซึ่งใน Rootkit หลายต่อหลายตัว นั้นถูกจัดให้อยู่ในพวกเดียวกับม้าโทรจันด้วย เนื่องด้วยการทำงานที่คล้ายกันมาก

การนำ Rootkit ไปใช้นั้น ก็เพื่อที่จะช่วยให้ผู้รุกราน สามารถเข้าไปใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่ต้องการนั้นได้ตลอดเวลาที่เขาตต้องการ บางครั้งอาจเรียกพวกนี้ว่า Backdoor ก็ได้


Zombie
คอมพิวเตอร์ที่ถูกควบคุมโดยนักเจาะ เพื่อจุดประสงค์ในการใช้เพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ตัวอย่างทั่ว ๆ ไปได้แก่การโจมตีแบบ DDoS (Distrubuted Denial of Service) เมื่อเครื่องที่เป็น zombie ถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องโจมตีเครื่องอื่นที่เป็นเป้าหมาย เจ้าของเครื่องที่เป็น zombie อาจไม่รู้ว่าคอมพิวเตอร์ของพวกเขาถูกควบคุมโดยนักเจาะ ถ้าคอมพิวเตอร์นั้นถูกใช้เพื่อเป็นฐานการโจมตีที่เป้าหมายได้รับความเสียหาย เจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น อาจถูกตามหาตัว หรือรับผิดชอบตามกฏหมาย


Podcasting
Podcasting (ออกเสียงว่า “พอดแคสติ้ง”) เป็นคำผสมที่มาจากคำว่า iPod เครื่องเล่นเพลงดิจิตอลยอดนิยมของแอปเปิ้ล (ปัจจุบันจำหน่ายไปทั่วโลกแล้วกว่า 30 ล้านเครื่อง) กับคำว่า Broadcasting ซึ่งหมายถึงการกระจายเสียง บรรดาเจ้าของ iPod จะเล่นพอดแคสต์บนเครื่องเล่นของเขา แต่คุณก็สามารถนำพอดแคสต์ไปเล่นบนเครื่องเล่นออดิโอรุ่นใดก็ได้ หรือจะใช้มีเดียเพลเยอร์บนพีซีก็ไม่ผิด พูดง่ายๆ ก็คือ คุณไม่จำเป็นต้องใช้ iPod เพื่อฟัง podcast นั่นเอง
Podcasting เริ่มเป็นที่นิยมมาตั้งแต่ปีที่แล้ว และมีอัตราการเติบโตที่เร็วมากๆ โดยมันเปิดโอกาสให้ใครก็ได้สามารถบันทึกรายการวิทยุในรูปของไฟล์ดิจิตอล เพื่อเผยแพร่ออกไปทั่วโลกผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการกระจายไฟล์ดังกล่าวจะกระทำผ่านกระบวนการที่เรียกว่า RSS (Really Simple Syndication)*

ปัจจุบันมีบริการพอดแคสต์มากมายบนอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างเว็บไซต์ที่รวบรวมพอดแคสต์ที่เปิดให้บริการที่คุณสามารถเข้าไปเลือก หามาทดลองฟัง (ฝึกภาษาอังกฤษไปในตัว) ก็เช่น
http://www.ipodder.org/ นอกจากนี้บรรดาเว็บไซต์ของสำนักข่าวดังๆ อย่าง http://www.cnn.com/, http://www.bbc.com/, http://www.abcnews.com/ ก็ได้ให้บริการในลักษณะนี้แล้วด้วย
* RSS ย่อมาจาก Really Simple Syndication เป็นกลไกในการอัพเดตข่าวสาร, บล็อก หรือพอดแคสต์ ไปยังเดสก์ทอปของผู้ใช้โดยอัตโนมัติ โดยใช้โปรแกรมประเภท RSS Reader ซึ่งจะคอยอัพเดตหัวข้อ หรือบทสรุปของคอนเท็นต์ต่างๆ ให้คุณโดยอัตโนมัติแทนที่จะต้องดาวน์โหลดมาทั้งหมด


Cross Site Scripting
Cross Site Scripting (XSS) ซึ่งคำนี้แฮคเกอร์ส่วนใหญ่จะเข้าใจดี เพราะมันเป็นเทคนิคที่ใช้ในการจับตาดูเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีช่องโหว่ของระบบรักษาความปลอดภัย

โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่ต้องมีการใช้ข้อมูลส่วนตัวของผู้เยี่ยมชมในการเข้าถึง และไม่มีการตรวจสอบข้อมูล เมื่อพวกเขากลับเข้ามาเยี่ยมชมซ้ำอีกครั้งในภายหลัง
แฮคเกอร์จะแอบสร้างลิงค์ขึ้นมาใหม่บนเว็บไซต์เป้าหมายด้วยโค้ด หรือสคริปท์โดยอาศัยช่องโหว่ของระบบรักษาความปลอดภัยของเว็บไซต์นั้น แล้วแอบขโมยเอาข้อมูลที่ผู้ใช้กรอกเข้าไปโดยที่ผู้ใช้เข้าใจว่า ได้ให้ข้อมูลสำคัญกับทางเว็บไซต์ที่กำลังติดต่ออยู่ในขณะนั้น
การโจมตีด้วยเทคนิค Cross Site Scripting แฮคเกอร์สามารถสร้าง และส่งลิงค์ไปให้กับเหยื่อ (ด้วยชื่อของเว็บไซต์ที่มีช่องโหว่ และต้องมีการป้อนข้อมูลเพื่อเป็นสมาชิก) ผ่านทางอีเมล์, เว็บบอร์ด เป็นต้น เมื่อแฮคเกอร์ได้ข้อมูลของคุณไปแล้ว พวกมันก็จะสวมรอยด้วยการใช้ข้อมูลของคุณล็อกออนเข้าไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ได้

กล่าวโดยสรุปก็คือ Cross Site Scripting เป็นเทคนิคการส่งลิงค์ที่ฝังโค้ด หรือสคริปท์การทำงานของแฮคเกอร์เข้าไป เพื่อให้ปรากฎบนหน้าเว็บของเว็บไซต์ที่มีช่องโหว่ โดยหลอกให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลสำคัญแล้วส่งกลับมาให้แฮคเกอร์แทนที่จะผ่านเข้า ไปในเว็บไซต์ที่เรากำลังเข้าไป เยี่ยมชมอยู่ในขณะนั้นนั่นเอง



Podcast
คำว่า “พอดแคสต์” (Podcast) ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในคำศัพท์ทางด้านเทคโนโลยีที่มีการใช้กัน อย่างแพร่หลายในช่วงรอบปีที่ผ่าน มา อ้างอิงจากคำกล่าวของบรรณาธิการ New Oxford American Dictionary

นิยามของคำว่า Podcast ในพจนานุกรมอ๊อกฟอร์ดหมายถึง "การบันทึกรายการวิทยุกระจายเสียงในระบบดิจิตอล ที่จัดทำไว้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับดาวน์โหลดเข้าไปยังเครื่องเล่นออดิโอส่วนบุคคล (personal audio player)" ซึ่งผลจากความนิยมดังกล่าวทำให้คำว่า Podcast จะถูกเพิ่มเข้าไปในพจนานุกรมฉบับออนไลน์ตั้งแต่ต้นปี 2006 เป็นต้นไป
“พอดแคสต์ได้รับการพิจารณาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่เราพบว่า มันยังเป็นศัพท์ที่มีผู้ใช้ไม่มากพอ อีกทั้งยังไม่มีคอนเซปต์ที่ชัดเจน” Erin McKean หัวหน้าบรรณาธิการของ New Oxford American Dictionary กล่าว “แต่ปีนี้แตกต่างจากปีที่แล้วอย่างสิ้นเชิง ซึ่งในที่สุดศัพท์คำนี้ก็เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายหลังจากที่เกิด ปรากฏการณ์เครื่องเล่น iPod (ที่มีการจำหน่ายไปทั่วโลกกว่า 30 ล้านเครื่องแล้ว)”


CMS
CMS ย่อมาจาก Content Management System เป็นระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป โดยในการใช้งาน CMS นั้นผู้ใช้งานแทบไม่ต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม ก็สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ โดยที่ตัว CMS เองมีโปรแกรมประยุกต์ แบบพร้อมใช้งานอยู่ภายในมากมายอาทิ ระบบจัดการบทความและข่าวสาร(News and Story) ระบบจัดการบทวิจารณ์ (Review), ระบบจัดการสมาชิก(Mamber) ระบบสืบค้นข้อมูล(Search) ระบบจัดการไฟล์ดาวน์โหลด(Download), ระบบจัดการป้ายโฆษณา(Banner), ระบบการวิเคราะห์และตรวจสอบสถิติความนิยมในเว็บไซต์ (Analysis, Tracking and Statistics) เป็นต้น

ปัจจุบันซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้าง CMS มีหลายตัวด้วยกันอาทิเช่น PostNuke, PHP-Nuke, MyPHPNuke, Mambo, eNvolution, MD-Pro, XOOPs, OpenCMS, Plone, JBoss, Drupal เป็นต้น

การประยุกต์ใช้ CMS ในวงการต่างๆ
ระบบ CMS สามารถนำมาประยุกต์ในงานต่างๆ หลากหลาย ตัวอย่างการนำซอฟต์แวร์ CMS มาประยุกต์ใช้งาน อาทิเช่น
• การนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์สถาบันการศึกษา ธุรกิจบันเทิง หนังสือพิมพ์ การเงิน การธนาคาร หุ้นและการลงทุน อสังหาริมทรัพย์ งานบุคคล งานประมูล สถานที่ท่องเที่ยว งานให้บริการลูกค้า
• การนำ CMS มาใช้ในหน่วยงานของรัฐ อาทิเช่น งานข่าว งานประชาสัมพันธ์ การนำเสนองานต่างๆ ขององค์กร
• การใช้ CMS สร้างไซต์ ส่วนตัว ชมรม สมาคม สมาพันธ์ โดยวิธีการแบ่งงานกันทำ เป็นส่วนๆ ทำให้เกิดความสามัครคี ทำให้มีการทำงานเป็นทีมเวิร์คมากยิ่งขึ้น
• การนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์สำหรับธุรกิจ SME โดยเฉพาะสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP กำลังได้รับความนิยมสูง
• การนำ CMS มาใช้แทนโปรแกรมลิขสิทธิ์ อื่นๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และง่ายต่อการพัฒนา
• การใช้ CMS ทำเป็น Intranet Web Site สร้างเว็บไซต์ใช้ภายในองค์กร

แล้ว CMS กับ Web log มันต่างกันตรงไหน
Web log นิยมเรียกสั้นๆ ว่า Blog หมายถึง เว็บไซต์ที่มีรูปแบบง่ายๆ โดยมากจะเป็นในลักษณะเว็บไซต์ส่วนตัวคนสร้างบล็อกต้องการบรรยายเหตุการณ์ ส่วนตัว อาทิ ความในใจ ชีวิติครอบครัว เหตุการณ์ประทับใจในชีวิต อะไรทำนองนี้ โดยที่เนื้อหาของบล็อกแต่ละบล็อกนั้นจะเป็นเนื้อหาใหม่ล่าสุด ไล่ย้อนหลังลงกลับไปเรื่อยๆ กล่าวคือข้อความหลังสุดจะอยู่ด้านบนสุด เราเรียกคนที่ทำ Blog ว่า Blogger หรือ Weblogger โดยในเนื้อหาใน Blog นั้นจะส่วนประกอบสามส่วนคือ
• หัวข้อ (Title) เป็นหัวข้อสั้นสั้นๆ
• เนื้อหา (Post หรือ Content) เป็นเนื้อหาหลักที่คนสร้าง Blog ต้องการที่จะบอกให้คุณทราบ
• วันที่เขียน (Date) เป็นวัน เดือน ปี ที่เขียน
ทูลที่ใช้ทำ Blog เช่น pMachine , b2evolution, bBlog, MyPHPblog, Nucleus, Wordpress, Simplog เป็นต้น
ปัจจุบันเว็บบล็อกบางตัวฝังโมดูลกระดานข่าวและอื่นๆ มาด้วย
หากจะพูดแบบภาษาชาวบ้าน CMS ก็คือปู่ของ Blog นั่นแหละครับ เพราะ CMS เองก็สามารถนำมาทำเป็น Blog ได้ แต่ CMS มันมีความสามารถอื่นๆ อีกมากที่บล็อกทำไม่ได้




Codec
Codec ย่อมาจาก “Coder-Decoder” หรือ “Compressor-Decompressor” ซึ่งหมายถึง กลไก (ของฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์) การเข้า หรือถอดรหัส หรือการบีบอัด และคลายข้อมูล โดย Codec จะสามารถใช้ได้กับข้อมูลที่เป็นออดิโอ ข้อความ และวิดีโอ ซึ่งเราจะใช้ Codec ทำงานร่วมกับแทรค (track) เสียง ข้อความที่เป็นซับไตเติล และวิดีโอ ในแอพพลิเคชันการประชุมผ่านระบบวิดีโอ และการถ่ายทอดสื่อต่างๆ ด้วยกลไกสตรีมมิ่ง ทั้งนี้ผู้ใช้อาจพบว่า คลิปวิดีโอบางไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาจะมีการร้องขอ codec เฉพาะบางตัวก่อนที่จะสามารถเล่นไฟล์ได้


SaaS
SaaS ย่อมาจาก “Software as a Service” หรือบางทีก็เรียกว่า ODS ย่อมาจาก “On Demand Software” แต่คำเรียกนี้ไม่น่าจะได้รับความสนใจเท่าคำว่า SaaS ความหมายของ SaaS ก็คือ ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชันบนเว็บที่ผู้ใช้สามารถเรียกใช้บริการได้ โดยแอพพลิเคชันพวกนี้จะไม่ถูกจัดเก็บเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ มันไม่ได้ใช้พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ของเรานั่นเอง ที่สำคัญเราสามารถเรียกใช้งานมันเมื่อไรก็ได้ในขณะที่เราเชื่อมต่อเน็ต ซึ่งทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกมาก ตัวอย่าง SaaS ก็เช่น แอพพลิเคชัน Windows Internet Security Center ที่เปิดให้บริการใน Windows Live เป็นต้น


Web Service
Web service เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ application ต่างๆสามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ถึงแม้ว่า application ต่าง ๆ เหล่านั้นจะสร้าง มาจากสถาปัตยกรรม ภาษาและฐานข้อมูลที ต่างกัน Web service ทำให้Application ต่างๆสามารถ interface กันได้โดยใช้ XML เป็นภาษากลางในการสื่อสารผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอรเพื่อที่จะให้มีมาตรฐาน ร่วมกันในการสื่อสารระหว่าง application ด้วยภาษา XML จึงได้มีการจักตั้งกลุ่มทำงาน WS-I ทำงานเพื่อกำหนดโดยเรียกกลุ่มของ application ที่เป็น web service ว่า Service-Oriented Architecture(SOA)


RSS
RSS หรือ Really Simple Syndication เป็นบริการใหม่บนเว็บไซต์ภาษา XML ใช้สำหรับดึงข่าวจากเว็บต่างๆ มาแสดงบนหน้าเว็บเพจ โดยนำมาเฉพาะหัวข้อข่าว เมื่อผู้ใช้คลิกลิงค์ก็จะแสดงรายละเอียดข่าวในเว็บต้นฉบับนั้นๆ โดยที่หัวข้อข่าวจะอัปเดทตามเว็บต้นทาง ซึ่งการดึงหัวข้อข่าวไปแสดงนั้นจะมีส่วนประกอบทั้งหมดสามส่วนคือส่วนผู้ให้ บริการดึงข่าว และส่วนผู้สร้างเว็บไซต์ใช้ทั่วไปที่ต้องการดึงข่าวไปแสดง และส่วนผู้ใช้ทั่วไป

RSS ช่วยลดข้อจำกัดในการคัดลอกข้อมูลในเว็บไซต์โดยเฉพาะกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ ขณะที่ผู้สร้างไม่ต้องเสียเวลาทำหน้าเพจแสดงข่าว ซึ่งต้องทำทุกครั้งเมื่อต้องการเพิ่มข่าว โดย RSS จะดึงข่าวมาอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลบนเว็บไซต์เป็นศูนย์กลางมากขึ้น

ปัจจุบัน RSS ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปแบบกลางในการบริการข้อมูลทางธุรกิจ และมีการแข่งขันกันสูง โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการแชร์ข้อมูล เช่นเว็บไซต์ข่าว เว็บล็อก ซึ่งจะมีการแสดงข้อมูลบนหน้าต่างพรีวิวแยกต่างหากเพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสน รวมถึงสามารถสืบค้นข้อมูลได้

จุดเด่นของ RSS คือผู้ใช้จะไม่จำเป็นต้องเข้าไปตามเว็บไซต์ต่างๆเพื่อดูว่ามีข้อมูลอัปเด ทใหม่หรือไม่ ขณะที่เว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะความถี่ในการอัปเดทไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ใช้ยังอาจหลงลืมจนเข้าไปดูเนื้อหาอัปเดทใหม่บนเว็บไม่ครบถ้วน รูปแบบ RSS จะช่วยให้ผู้สามารถรับข่าวสารอัปเดทใหม่ได้โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้ เสียเวลา ได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้บริโภคและฝ่ายเจ้าของเว็บไซต์


CDMA 2000 1xEV-DO
1xEV-DO ย่อมาจาก First Evolution Data Optimized เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจากเทคโนโลยี CDMA 2000 และเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ได้รับการอนุมัติจากสมาพันธ์โทรคมนาคมระหว่าง ประเทศ หรือไอทียู (ITU) ให้เป็นเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐานการสื่อสารไร้สายยุคที่ 3 หรือ 3G

1xEV-DO เป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายที่มีการส่งผ่านข้อมูลแบบแพ็คเก็ตด้วย ประสิทธิภาพและความเร็วสูง ต้นทุนต่ำ เหมาะสำหรับผู้บริโภคทั่วไป รวมถึงผู้ใช้ที่ต้องการความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล ด้วยความเร็วสูงถึง 2.4 เมกะบิตต่อวินาที รองรับอุปกรณ์โมบายหลากหลายประเภท เช่น โทรศัพท์มือถือ พีดีเอ และโน้ตบุ๊ค เพื่อการเข้าถึงข้อมูลต่างๆบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือบรอดแบนด์

1xEV-DO เป็นเทคโนโลยีที่มีระบบการทำงานของเครือข่ายแบบ Always On ทำให้สามารถโรมมิ่งสัญญาณได้ตลอดเวลา ซึ่งช่วยให้เกิดการส่งผ่านข้อมูลผ่านระบบไร้สายเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังช่วยให้ชีวิตในทุกๆวันสะดวกสบายมากขึ้นด้วย


Cookies
Cookies คือ ข้อมูลขนาดเล็กที่จะถูกส่งไปเก็บไว้ในบราวเซอร์ของท่าน
เพื่อทำการเก็บข้อมูลการเข้าเยี่ยมชม เมื่อท่านเปิดเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้งในคราวหลัง
เครื่องก็จะจำได้ทันทีว่าท่านเคยเข้ามาเยี่ยมชมแล้ว

Cookies
ไม่ใช่โปรแกรมที่จะเข้าไปอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานแล้วทำลายไฟล์ต่างๆ
แต่มีไว้เพื่อช่วยให้เราคอยติดตามว่าผู้ใช้แวะเยี่ยมหน้าใดบ้าง
เริ่มต้นจากหน้าไหนจบลงด้วยหน้าไหนและบ่อยแค่ไหน
เราไม่ได้ใช้ Cookies เพื่อตรวจสอบว่าผู้ใช้คือใคร
เพียงแต่บอกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นี้เคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราแล้ว

Cookies ไม่ได้ใช้สำหรับเก็บ
ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่อีเมล์ หากท่านไม่ประสงค์ให้ Cookies เข้าไปอยู่ในคอมพิวเตอร์ของท่าน
ท่านสามารถ สั่งให้บราวเซอร์ปฏิเสธไฟล์ Cookies ได้

ประโยชน์ของ Cookies :

(1). ใช้จัดเก็บข้อมูลของผู้แวะเข้ามาเยี่ยมชม และจัดเก็บข้อมูลของสมาชิกแต่ละท่าน
เพื่อใช้ในนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการให้ตรงตามความต้องการของแต่ละท่านมากที่สุด
ซึ่ง Cookies เหล่านี้จะเริ่มเก็บข้อมูลหลังจากที่ท่านใส่รหัสผ่านของสมาชิก
และจะหยุดการจัดเก็บข้อมูลเมื่อท่าน ออกจากรหัสผ่าน หรือ log out

(2). ใช้ประเมินจำนวนผู้เข้าชม การใช้บราวเซอร์แต่ละประเภทจะมีการใช้ Cookies ที่แตกต่างกันออกไป
ทำให้สามารถจำแนกการใช้งานของผู้เข้าชมทั้งที่เป็นสมาชิกและมิได้เป็นสมาชิกได้
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ในการนำเสนอโฆษณาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายโดยประเมินจากความสนใจ
และพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต

(3). ใช้ตรวจสอบความถี่ในการใช้งาน หรือรูปแบบการเข้าชม การตรวจสอบ Cookies นี้นอกจากจะทำให้เราเข้าใจถึงลักษณะนิสัย และพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ยังมีผลต่อการปรับปรุงบริการของเรา เนื้อหา การโฆษณา และการส่งเสริมการขายต่างๆ ในเว็บไซต์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละบุคคล

คำศัพท์คอมพิวเตอร์

API
Application Program Interface หรือ API หรือ เอพีไอ คือ วิธีการเฉพาะสำหรับการเรียกใช้ระบบปฏิบัติการหรือแอพ พลิเคชั่นอื่นๆ หรือชุดโค้ด คอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อการทำงานระหว่างแอ พพลิเคชั่นกับระบบปฏิบัติการ

การที่แอพพลิเคชั่นจะเชื่อมต่อการทำงานกับระบบปฏิบัต ิการได้นั้น จำเป็นต้องมีเอพีไอเป็นตัวเชื่อม ซึ่งหากไม่มีการเปิดเผยเอพีไอของระบบปฏิบัติการ ออกมาแล้ว เป็นไปไม่ได้เลยที่โปรแกรมเมอร์จะพัฒนาแอพพลิเคชั่นข องเขาให้ทำงานเข้ากับระบบปฏิบัติการได้เต็ม 100%

อย่างไรก็ตาม แม้เอพีไอจะเป็นอินเตอร์เฟสชนิดหนึ่ง แต่จะทำหน้าที่เชื่อมต่อการทำงานของโปรแกรม ซึ่งต่างไปจากยูสเซอร์อินเตอร์เฟส (User Interface) ทั้งแบบกราฟิก (Graphical User Interface; GUI) และแบบเดิมที่เป็นบรรทัดคำสั่ง (Command Line) ที่เป็นอินเตอร์เฟสเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์กับผู้ใช ้


Application Program
Application Program หรือ แอพพลิเคชั่นโปรแกรม หรือเรียกสั้นๆว่า Application หรือ แอพพลิเคชั่น คือ โปรแกมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำหน้าที่เฉพาะสำหรับผู้ใ ช้โดยตรง หรือจากแอพพลิเคชั่นอื่นในบางกรณี

ตัวอย่างเช่น เวิร์ดโปรเซสซิ่ง, ดาต้าเบส, เว็บเบราวเซอร์, เครื่องมือพัฒนา หรือ ดีเวลอปเมนต์ทูล (Development Tool), โปรแกรมดรอว์อิ้ง, โปรแกรมเพนต์, โปรแกรมตกแต่งภาพ (Image Editor) และโปรแกรมสื่อสาร (Communication Program) เป็นต้น

แอพพลิเคชั่นจะมีการเรียกใช้เซอร์วิสของระบบปฏิบัติก ารหรือโปรแกรมซัพพอร์ตอื่นๆในเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย โดยรูปแบบในการขอใช้หรือรีเควสต์ (Request) เซอร์วิส และวิธีการสื่อสารกับโปรแกรมอื่น ที่โปรแกรมเมอร์ใช้ในการเขียนแอพพลิเคชั่น เรียกว่า แอพพลิเคชั่นโปรแกรมอินเตอร์เฟส (Application Program Interface; API)

BIOS
BIOS หรือ ไบออส หรือ Basic Input/Output คือโปรแกรมที่ไมโครโปรเซสเซอร์ใช้เพื่อเริ่มสตาร์ทกา รทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หลังเปิดสวิตช์ ไบออสจะคอยควบคุมหรือจัดการกับกระแสข้อมูลที่วิ่งระห ว่างระบบปฏิบัติการหรือโอเอส (Operating System; OS) กับอุปกรณ์ต่างๆที่ติดตั้งอยู่ เช่น ฮาร์ดดิสก์, กราฟิกการ์ด, คีย์บอร์ด, เมาส์ หรือพรินเตอร์ เป็นต้น

ไบออสจะถูกบรรจุไว้ในชิพเอ็ปรอม (EPROM) ซึ่งถูกอินทิเกรตติดไว้กับเมนบอร์ด ไม่เหมือนกับโอเอสที่แยกติดตั้งต่างหาก ทันทีที่เปิดสวิตช์คอมพิวเตอร์ ไมโครโปรเซสเซอร์จะส่งผ่านการควบคุมไปให้กับไบออส

ไบออสจะทำการค้นหาว่า มีอุปกรณ์ใดเชื่อมต่ออยู่กับระบบและพร้อมทำงานบ้าง จากนั้นจึงโหลดโอเอสเข้าสู่หน่วยความจำหลักหรือแรมจา กฮาร์ดดิสก์

ไบออสทำให้ระบบปฏิบัติการหรือแอพพลิเคชั่นเป็นอิสระ คือไม่จำเป็นต้องรู้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวอุปกรณ์นั ้นๆ เช่น แอดเดรส เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดใดๆเกี่ยวกับอุปกรณ์ มีเพียงไบออสเท่านั้นที่ต้องถูกแก้ไขหรือปรับแต่งให้ ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งบางครั้งการแก้ไขไบออสสามารถทำได้ในระหว่างเซ็ตอ ัพระบบ

แม้ว่าในทางทฤษฎีแล้ว ไบออสจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางคอยควบคุมกระแสข้อมูลระห ว่างไมโครโปรเซสเซอร์และอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต แต่ในบางกรณี ไบออสยังสามารถนำมาใช้ควบคุมกระแสข้อมูลที่วิ่งระหว่ างอุปกรณ์ เช่น กราฟิกการ์ด กับหน่วยความจำได้อีกด้วย เพื่อการส่งผ่านข้อมูลที่รวดเร็วกว่า
Bus
"Bus" หรือ "บัส" คือเส้นทางรับ-ส่งสัญญาณ ทั้งข้อมูลและคอนโทรล ที่เชื่อมถึงอุปกรณ์ทุกๆชิ้นในเครื่องคอมพิวเตอร์หรื อเน็ตเวิร์ค เมื่อมีการส่งสัญญาณข้อมูล เฉพาะอุปกรณ์ที่ถูกแอดเดรสหรือระบุไว้เท่านั้นจึงจะร ับข้อมูลก้อนนั้นได้

ในเครื่องคอมพิวเตอร์ บัสจะหมายถึง เส้นทางข้อมูลที่เชื่อมระหว่างไมโครโปรเซสเซอร์กับอุ ปกรณ์ที่เสียบเข้ากับสล็อตต่างๆบนเมนบอร์ดของเครื่อง คอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ, ซีดีรอมไดร์ฟ, ซาวด์การ์ด และกราฟิกการ์ด เป็นต้น

Cache Memory
Cache Memory หรือ Cache หรือ หน่วยความจำแคช หรือ แคช คือหน่วยความจำแรม (RAM) ซึ่งไมโครโปรเซสเซอร์หรือโปรเซสเซอร์แกนหลัก (Core Processor) สามารถเข้าถึงได้เร็วกว่าหน่วยความจำหลัก (Main Memory) บนระบบคอมพิวเตอร์

กระบวนการประมวลผลข้อมูลของไมโครโปรเซสเซอร์นั้น ขั้นตอนแรกคือการเข้าไปค้นหาข้อมูลในแคชก่อน ซึ่งถ้าเจอข้อมูลที่ต้องการ ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปค้นหาข้อมูลในหน่วยความจำหลักที่ ใหญ่กว่าในระดับถัดออกไป อาทิ Cache L1, Cache L2, (Cache L3), Memory, Harddisk

บ่อยครั้งที่แคชจะถูกกำกับด้วยระดับความใกล้หรือความ ง่ายในการเข้าถึงโดยไมโครโปรเซสเซอร์

แคชระดับ1 (Cache L1) คือแคชที่อยู่เป็นเนื้อเดียวกันบนตัวไมโครโปรเซสเซอร ์ สามารถเข้าถึงได้เร็วและง่ายที่สุด

แคชระดับ2 (Cache L2) คือแคชที่อยู่ห่างออกมาอีกระดับหนึ่ง ก่อนนี้มักนิยมแยกมาไว้บนสแตติกแรม (SRAM) แต่ปัจจุบัน โปรเซสเซอร์เกือบทุกรุ่นจะมีแคช L2 อยู่บนตัวชิป ซึ่งทำให้แคชที่อยู่บนตัวสแตติกแรมกลายเป็นแคชระดับ 3 (Cache L3) ไปโดยปริยาย

ขณะที่หน่วยความจำหลัก (Memory) จะเป็นไดนามิกแรมหรือดีแรม (DRAM) ที่ปัจจุบันดีดีอาร์-ดีแรม (DDR-DRAM) จะเป็นแบบที่นิยมมากที่สุดและกำลังกลายเป็นมาตรฐานสำ หรับระบบคอมพิวเตอร์

สรุปว่า แคช (Cache) คือหน่วยความจำขนาดเล็กที่อยู่ใกล้กับไมโครโปรเซสเซอ ร์ (Core Processor) มากที่สุด เป็นหน่วยความจำที่ไมโครโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้ เร็วกว่าหน่วยความจำหลัก (RAM) บนระบบคอมพิวเตอร์ การเพิ่มขนาดแคชทำให้ระบบสามารถเก็บข้อมูลที่โปรเซสเ ซอร์ต้องใช้ในการประมวลผลได้มากขึ้น ทำให้ใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลน้อยลง ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบดีขึ้นด้วย

Chipset
"Chipset" หรือ "ชิพเซ็ต" คือกลุ่มไมโครชิพที่ถูกออกแบบมา เพื่อเชื่อมหรือประสานการทำงานของฟังก์ชั่นต่างๆที่เ กี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน ตัวอย่างเช่น ชิพเซ็ต Intel 430HX สำหรับโปรเซสเซอร์ตระกูลเพนเทียมของอินเทล ซึ่งเป็นชิพเซ็ตที่ใช้ระบบบัส (Bus) แบบพีซีไอ (PCI; Peripheral Component Interconnect) พร้อมหน่วยควบคุม หรือ คอนโทรลเลอร์ (Controller) เชื่อมการทำงานของอุปกรณ์ประกอบต่างๆ (Component) เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นซีพียู, แรม, ฮาร์ดไดร์ฟ, ซาวด์การ์ด, กราฟิกการ์ด, ซีดีรอม ฯลฯ เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานร่วมกันได้อย่างมีประส ิทธิภาพสูงสุด, เร็วที่สุด และมีความเสถียรมากที่สุด

Clustering ระบบ คลัสเตอร์ หรือคลัสเตอริ่ง หมายถึงการเชื่อมระบบการทำงานของเซิร์ฟเวอร์เข้าด้วย กัน เพื่อเพิ่มกำลังและความสามารถในการประมวลผล ซึ่งอาจเทียบเท่าระดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์หรือสูงกว่า ก็ได้ สำหรับการประมวลผลงานที่มีความซับซ้อน โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ ข้อดีคือประหยัดค่าใช้จ่าย คือถูกกว่าเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์จริงๆ แต่ข้อเสียคือยุ่งยาก

Computer
Computer หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำข้อมูลและคำสั่งได้ ทำให้สามารถทำงานไปได้ โดยอัตโนมัติด้วยอัตราความเร็วที่สูงมาก ใช้ประโยชน์ในการคำนวณหรือการทำงานต่าง ๆ ได้เกือบทุกชนิด มี 3 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ (Main Frame) ขนาดกลาง (Mini Computer) และขนาดเล็กที่กำลังได้รับความนิยมทั่วไปในขณะนี้ เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) หรือ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า พีซี ปัจจุบัน การใช้ระบบเครือข่ายทำให้เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์เป็ นที่ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ สื่อสารได้ นอกเหนือไปจากการใช้เพื่อการคำนวณตามวัตถุประสงค์ดั้ งเดิมของผู้ประดิษฐ์

CPU
CPU (Central Processing Unit) หรือ โปรเซสเซอร์ (Processor) คือ ส่วนหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่ควบคุมกา รทำงานของส่วนอื่นๆ โดยทั่วไปแล้ว ซีพียูจะประกอบไปด้วย หน่วยควบคุม (Control Unit), หน่วยประมวลผลคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ (Arithmetic and Logic Unit; ALU) และหน่วยความจำ ได้แก่ รีจีสเตอร์ (Register), แคช (Cache), แรม (RAM) และรอม (ROM)

หน่วยควบคุมจะอ่านคำสั่ง (Instruction) จากหน่วยความจำ และถอดรหัส (Decode) คำสั่งเหล่านั้นออกมาเป็นสัญญาณที่ใช้ควบคุมส่วนต่าง ๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายรวมถึงการส่งผ่านข้อมูลไปมาระหว่างหน่วยความ จำและหน่วยประมวลผลเอแอลยู หรือกระตุ้นการทำงานของอุปกรณ์ประกอบ (Peripheral) เพื่อนำเข้า (Input) หรือส่งออกข้อมูล (Output)

พาราเลลคอมพิวเตอร์ (Parallel Computer) จะมีซีพียูทำงานร่วมกันอยู่หลายตัว โดยจะมีการใช้งานทรัพยากรหรือรีซอร์ส (Resource) ต่างๆร่วมกันด้วย เช่น หน่วยความจำและเพอริเฟอร์รัล เป็นต้น "โปรเซสเซอร์" อาจใช้แทน "ซีพียู" ได้ แม้ว่าโดยปกติแล้วจะไม่รวมแรมและรอมเข้าเป็นส่วนหนึ่ งของโปรเซสเซอร์ก็ตาม เช่นเดียวกับไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) รุ่นใหม่ ที่แม้ว่าบางรุ่นอาจรวมแรมและรอมเข้าไว้บนแผ่นวงจรอิ เล็กทรอนิกส์ หรือไอซี (Integrated Circuit; IC) เดียวกัน

DDoS
DDoS หรือ ดีดอส หรือ Distributed Denial-of-Service หรือ ดิสทริบิวต์ออฟเซอร์วิส คือ ลักษณะหรือวิธีการหนึ่งของการโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร ์เป้าหมายหรือระบบเป้าหมายบนอินเทอร์เน็ตของแฮกเกอร์ เพื่อทำให้ระบบเป้าหมายปฏิเสธหรือหยุดการให้บริการ (Denial-of-Service)

การโจมตีจะเกิดขึ้นพร้อมๆกันและมีเป้าหมายเดียวกัน โดยเครื่องที่ตกเป็นเหยื่อทั้งหมด (เครื่องที่ติดเชื้อจากการแพร่กระจายตัวของโค้ดร้ายซ ึ่งเป็นเครื่องมือของแฮกเกอร์สำหรับการควบคุมระบบ) จะสร้างข้อมูลขยะขึ้นมา แล้วส่งไปที่ระบบเป้าหมาย

กระแสข้อมูลที่ไหลเข้ามาในปริมาณมหาศาลทำให้ระบบเป้า หมายต้องทำงานหนักขึ้นและช้าลงเรื่อยๆ เมื่อเกินกว่าระดับที่รับได้ ก็จะหยุดการทำงานลงในที่สุด อันเป็นเหตุให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้บริการระบบเป้าหมาย ได้ตามปกติ.

DDR SDRAM
DDR SDRAM หรือ Double Data Rate SDRAM หรือ ดีดีอาร์เอสดีแรม หรือ ดีดีอาร์ คือ เอสดีแรม (SDRAM) ที่ตามทฤษฎีแล้ว สามารถพัฒนาให้สามารถทำงานที่ความเร็วสูงขึ้นถึง 200MHz (เมกะเฮิร์ตซ) และมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คือ รับส่งข้อมูลได้ทั้งทั้งขาขึ้นและขาลงของสัญญาณคล็อก เทียบกับเอสดีแรมปกติที่จะรับส่งข้อมูลเฉพาะขาขึ้นขอ งสัญญาณคล็อกเพียงด้านเดียว

DRAM
Dynamic Random Access Memory หรือ DRAM หรือ ดีแรม คือ แรม (Random Access Memory; RAM) หรือ หน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและ เครื่องเวิร์คสเตชั่น (Workstation) หน่วยความจำคือเครือข่ายของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพ ิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูลในรูปของ "0" และ "1" ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ

Random Access หรือ การเข้าถึงแบบสุ่ม หมายถึง โปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงทุกๆส่วนของหน่วยความจำหรือ พื้นที่เก็บข้อมูลได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องค้นหาข้อมูลที่ต้องการเรียงตามลำดับจาก จุดเริ่มต้น

DRAM คือไดนามิก ซึ่งตรงกันข้ามกับ SRAM หรือ สแตติกแรม (Static RAM); DRAM ต้องการการรีเฟรช (Refresh) เซลเก็บข้อมูล หรือการประจุไฟ (Charge) ในทุกๆช่วงมิลลิวินาที ในขณะที่ SRAM ไม่ต้องการการรีเฟรชเซลเก็บข้อมูล เนื่องจากมันทำงานบนทฤษฎีของการเคลื่อนที่ของกระแสไฟ ฟ้าซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงใน 2 ทิศทาง ไม่เหมือนกับเซลเก็บข้อมูลซึ่งเป็นเพียงตัวเก็บประจุ ไฟฟ้าเท่านั้น โดยทั่วไป SRAM มักจะถูกใช้เป็นหน่วยความจำแคช (Cache Memory) ซึ่งโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้เร็วกว่า

DRAM จะเก็บทุกๆบิตในเซลเก็บข้อมูล ซึ่งประกอบขึ้นด้วยกลุ่มตัวเก็บประจุ (คาปาซิเตอร์; Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor) คาปาซิเตอร์จะสูญเสียประจุไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว และนั่นเป็นเห็นเหตุผลว่า ทำไม DRAM จึงต้องการการรีชาร์ต

ปัจจุบัน มีแรมมากมายหลากหลายชนิดในท้องตลาด เช่น EDO RAM, SDRAM และ DDR SDRAM เป็นต้น

DVD Audio
DVD Audio หรือ ดีวีดีออดิโอ คือฟอร์แมตมาตรฐานสำหรับข้อมูลเสียง ซึ่งมีคุณภาพสูงกว่าฟอร์แมต CD ในปัจจุบัน อาทิ ระบบ Dolby Digital AC-3 และระบบเสียงเซอร์ราวด์ บันทึกเสียงได้นานสุดถึง 2 ชั่วโมงเต็ม ทั้งยังซัพพอร์ตเทคโนโลยีป้องกันการก็อปปี้ข้อมูลหรื อขโมยข้อมูลด้วย

DVD Video
DVD Video หรือ ดีวีดีวีดีโอ คือฟอร์แมตมาตรฐานที่ใช้กันใน "ฮอลลีวูด" (Hollywood) หรือในวงการภาพยนตร์ เพื่อการบันทึกข้อมูลภาพ ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง รวมถึงข้อมูลเสียง แน่นอนว่ามีคุณภาพสูงกว่าฟอร์แมต CD และมีความจุสูงสุดประมาณ 17 กิกะไบต์

DVD+RW
DVD+RW เป็นเทคโนโลยีที่ร่วมกันพัฒนาขึ้นโดยบริษัทฮิวเลตต์แ พคการ์ด, มิตซูบิชิ, ฟิลิปส์, ริโค, โซนี่, เดลล์, คอมแพค และยามาฮา ซัพพอร์ตการ Re-Writable และสามารถใช้ได้กับทั้งเครื่องเล่น DVD และไดร์ฟ DVD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถใช้เขียนหรืออ่านแผ่น DVD-RAM ได้ แต่กับแผ่น CD-R และ CD-RW ไม่มีปัญหา เพราะเทคโนโลยีนี้มีพื้นฐานเดียวกับ CD-R และ CD-RW มีความจุ 4.7GB ต่อหน้า สามารถเขียนทับได้กว่า 1,000 ครั้ง ส่วนเวอร์ชั่นที่สามารถ Re-Writable ได้ครั้งเดียวนั้น จะเรียกว่า DVD+R

DVD-R
DVD-R หรือ ดีวีดี-อาร์ เป็นมาตรฐานดีวีดีซึ่งคิดค้นและพัฒนาขึ้นโดยบริษัทไพ โอเนียร์ (Pioneer) มีความจุ 4.7GB (กิกะไบต์) ต่อหน้า คุณสมบัติจะคล้ายกับ DVD-ROM คือใช้เขียนได้ครั้งเดียว แรกเริ่มเดิมทีตั้งใจจะพัฒนาขึ้นมาสำหรับผู้ใช้ระดับ โปรเฟสชั่นแนลเท่านั้นภายใต้มาตรฐาน DVD-R (A) แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเวอร์ชั่นสำหรับผู้ใช้ทั่วไ ปออกมาร่วมทำตลาดด้วยภายใต้มาตรฐาน DVD-R (G) ข้อแตกต่างระหว่าง 2 เวอร์ชั่นก็คือ เวอร์ชั่น A จะซัพพอร์ตการทำมาสเตอริ่งและมีเทคโนโลยีป้องการก็อป ปี้ข้อมูล ขณะที่เวอร์ชั่น G ไม่มี คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งของ DVD-R ก็คือ สามารถเล่นได้กับทั้งเครื่องเล่น DVD ทั่วไปและไดร์ฟ DVD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์

DVD-RAM
DVD-RAM หรือ ดีวีดีแรม เป็นเสมือนหนึ่งฮาร์ดดิสก์ มีการอ่านเขียนข้อมูลแบบสุ่มหรือแรนดอม (Random) เดิมมีความจุเพียง 2.6GB ต่อหน้า แต่ถูกปรับปุรงให้เป็น 4.7GB ต่อหน้าในภายหลัง และในปัจจุบันแผ่น DVD-RAM แบบดับเบิลไซด์จะมีความจุสูงสุดถึง 9.4GB สามารถเขียนทับได้มากกว่า 100,000 ครั้งโดยไม่ต้องรีฟอร์แมตก่อน อย่างไรก็ตาม DVD-RAM มีข้อจำกัดคือ ไม่สามารถเล่นกับเครื่องเล่น DVD หรือไดร์ฟ DVD-ROM ได้ จำเป็นต้องเล่นกับไดร์ฟ DVD-RAM โดยเฉพาะเท่านั้น

DVD-ROM
DVD-ROM หรือ ดีวีดีรอม รายละเอียดเชิงเทคนิคโดยทั่วไปจะเหมือนกันกับ DVD Video คือฟอร์แมตมาตรฐานที่ใช้กันใน "ฮอลลีวูด" (Hollywood) หรือในวงการภาพยนตร์ เพื่อการบันทึกข้อมูลภาพ ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง รวมถึงข้อมูลเสียง มีคุณภาพสูงกว่าฟอร์แมต CD และมีความจุสูงสุดประมาณ 17 กิกะไบต์ แต่ที่พิเศษกว่าคือ สามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ด้วย เพื่อการบันทึกข้อมูลประเภทดาต้าอื่นๆ

DVD-RW
DVD-RW หรือ ดีวีดี-อาร์ดับเบิลยู เป็นมาตรฐานที่พัฒนาต่อยอดจาก DVD-R ให้มีความสามารถทั้งอ่านและเขียน มีความจุ 4.7GB (กิกะไบต์) ต่อหน้า สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำ (Re-Written) ได้ประมาณ 1,000 ครั้ง และสามารถเล่นได้กับทั้งเครื่องเล่น DVD ทั่วไปและไดร์ฟ DVD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับ DVD-R

EEPROM
EEPROM หรือ Ectrically Erasable Programmable Read-Only Memory หรือ อีเอ็ปรอม คือหน่วยความจำรอม (ROM) ที่ผู้ใช้สามารถลบหรือแก้ไขหรือเขียนซ้ำข้อมูลที่บรร จุอยู่ภายในได้ และสามารถกระทำซ้ำได้หลายครั้ง โดยอาศัยแอพพลิเคชั่นที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูงกว่าปกติ EEPROM จะต่างจาก EPROM ตรงที่ไม่จำเป็นต้องถอดออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่ อทำการแก้ไขข้อมูล การลบข้อมูลใน EEPROM จะเป็นการลบข้อมูลทั้งหมด ไม่สามารถเลือกลบเฉพาะบางส่วนได้ อย่างไรก็ตามมันมีอายุการใช้งานจำกัดขึ้นอยู่กับจำนว นครั้งในการลบหรือแก้ไขข้อมูล เช่น 10 ครั้งหรือ 100 ครั้ง รูปแบบพิเศษของ EEPROM คือหน่วยความจำแฟลช (Flash Memory) ซึ่งใช้ระดับไฟปกติในเครื่องพีซีสำหรับการลบหรือเขีย นหรือแก้ไขข้อมูล

EPROM
EPROM หรือ Erasable Programmable Read-Only Memory หรือ เอ็ปรอม คือ พีรอม (PROM) ซึ่งสามารถลบและนำมาใช้ซ้ำได้ การลบข้อมูลในเอ็ปรอมสามารถทำได้โดยการนำไปตากแดด รังสีอุลตร้าไวโอเลตในแสงแดดจะทำปฏิกิริยากับชิพหน่ว ยความจำและลบข้อมูลทั้งหมดออกไป อย่างไรก็ตามการลบข้อมูลจะเกิดขึ้นภายใต้แสงแดดจัดเท ่านั้น แสงแดดที่ส่องผ่านเข้ามาในห้องอาจมีปริมาณรังสีอุลตร ้าไวโอเลตไม่เพียงพอสำหรับกระบวนการดังกล่าวได้

Firewall
Firewall หรือ ไฟร์วอลล์ คือเทคโนโลยีที่ช่วยกันผู้บุกรุก ทั้งจากอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายอื่นๆ ไม่ให้เข้าถึงข้อมูลบนเครื่องพีซีของคุณ โดยการกรองข้อมูลทั้งหมดที่ไหลเข้าหรือออกจากเครื่อง คอมพิวเตอร์

ระบบหนึ่งหรือหลายระบบรวมกัน ซึ่งสร้างหรือควบคุมให้มีเส้นแบ่งระหว่างสองเครือข่า ยขึ้นไป เป็นเกตเวย์ที่จำกัดการเข้าถึงเครือข่ายต่างๆ โดยเป็นไปตามนโยบายการรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายน ั้นๆ

ไฟร์วอลล์โดยทั่วไปจะเป็นเครื่องพีซีที่มีราคาไม่สูง มากนักและรันระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ เครื่องดังกล่าวจะไม่มีข้อมูลสำคัญอยู่ โดยมีโมเด็มและพอร์ตต่างๆเชื่อมอยู่กับเครือข่ายภายน อก แต่จะมีเพียงพอร์ตเดียวที่ต่อกับเครือข่ายภายใน ซึ่งพอร์ตนี้จะถูกตรวจตราและดูแลอย่างใกล้ชิด

Flash Memory
"Flash Memory" หรือ "แฟลชเมมโมรี่" หรือ "หน่วยความจำแฟลช" คือ หน่วยความจำประเภท "นอนโวลาไทล์" (Nonvolatile) ซึ่งสามารถลบหรือแก้ไขข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในยูนิตของ หน่วยความจำที่เรียกว่า "บล็อก" (Block) ได้ ข้อแตกต่างระหว่าง "EEPROM" กับ "Flash Memory" คือการลบหรือแก้ไขข้อมูล ซึ่ง "EEPROM" จะกระทำในระดับไบต์ หมายความว่า "Flash memory" จะทำงานได้เร็วกว่า

"Flash Memory" มักถูกใช้สำหรับการเก็บคอนโทรลโค้ด เช่น ไบออส ( Basic Input/Output System; BIOS) เนื่องจากง่ายต่อการอัพเดทข้อมูล อย่างไรก็ตาม มันไม่สามารถนำมาใช้งานแทน "แรม" (RAM) ได้ เพราะแรมต้องการการระบุตำแหน่งในระดับไบต์ ไมใช่บล็อก

"Flash" เป็นชื่อที่ได้มาจากพฤติกรรมของชิพที่นำมาใช้ ซึ่งสามารถลบข้อมูลที่บรรจุภายในเซลได้ด้วยการกระทำเ พียงครั้งเดียว

ปัจจุบัน "Flash Memory" ถูกใช้ในอุปกรณ์ดิจิตอลชนิดต่างๆมากมาย เช่น โทรศัพท์มือถือ, กล้องดิจิตอล, แลนสวิตช์, พีซีการ์ดสำหรับโน้ตบุ๊ค, เซ็ตท็อปบ็อกซ์, คอนโทรลเลอร์ ฯลฯ